อายุความในการฟ้องคดี

อายุความ ในการฟ้องคดี คืออะไร

 

ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ใช้สิทธิเรียกร้อง สิทธิฟ้อง หรือสิทธิร้องทุกข์ โดยหากปล่อยไปจนล่วงเลยกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สิทธิที่ว่านั้น จะเป็นอันยกขึ้นอ้างอีกไม่ได้ หรือเรียกว่า การขาดอายุความ”เช่นนี้ แม้จะมีเอกสารหลักฐานครบถ้วนที่สามารถใช้สิทธิ์ฟ้องร้องต่อศาลได้ หากปล่อยให้คดีขาดอายุความก็จะไม่ใช้สิทธิทางศาลได้เลย ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องพึ่งระวังอย่างมาก ดังนั้นหากคุณปรึกษา ทนายความ ในประเด็นอายุความก่อนที่จะฟ้องคดี จะมีประโยชน์อย่างมาก

Note : หากท่านต้องการสอบถามค่าจ้างทนายความในการฟ้องคดี ก่อนที่คดีจะหมดอายุความ อ่านเพิ่มที่ ค่าจ้างทนาย


เหตุที่ต้องมีการกำหนด อายุความ

 

  1. เพื่อให้การพิสูจน์ความจริง เป็นไปให้เร็วที่สุด ในขณะที่พยานและหลักฐานยังใหม่พึ่งเกิดขึ้น โอกาสที่ศาลจะตัดสินผิดพลาดคลาดเคลื่อน มีโอกาศน้อย
  2. ถือเป็นสภาพบังคับให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งรัดกับคดีความ เนื่องจากหากละเลย ไม่เร่งรัด เพื่อให้ได้ตัวผู้กระทำผิดมาเข้าสู่กระบวนการภายในอายุความ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องมีความรับผิดด้วยเช่นกัน
  3. การมีอายุความทางคดี ถือเป็นการห้ามไม่ให้มีการนำเรื่องราวที่เกิดขึ้นนานแล้ว มาเรียกร้องต่อกัน เนื่องจากพยานหลักฐานอาจสูญหาย เสื่อมสภาพ บกพร่อง หรือคลาดเคลื่อนไปตามกาลเวลา ส่งผลให้การวินิจฉัยข้อพิพาทนั้น ๆ ไม่อาจเป็นธรรมได้

 

การนับระยะเวลา อายุความ

 

การนับอายุความนั้นจะเริ่มนับวันไหน นับวันก่อนวันเกิดเหตุโต้แย้งสิทธิ หรือวันนั้นเลยหรือวันรุ่งขึ้น ซึ่งมีกฎหมายกำหนดไว้ ดังนี้

การนับอายุความ ตามประมวลกฎหมายอาญา ไม่ได้บัญญัติวิธีการนับระยะเวลาอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงอยู่ในบังคับของหลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193 / 3 วรรคสอง ซึ่งมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน แต่ต้องเริ่มนับอายุความในวันรุ่งขึ้น


อายุความในคดีอาญา


ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 กำหนดจำนวนของการขาดอายุความ ไว้ดังนี้

อายุความ 20 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุก 20 ปี

อายุความ 15 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 7 ปี แต่ยังไม่ถึง 20 ปี

อายุความ 10 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 1-7 ปี 

อายุความ 5 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 1 เดือน ถึง 1 ปี 

อายุความ 1 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 เดือนลงมา หรือต้องระวางโทษอย่างอื่น

*คดีความผิดอันยอมความได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96

– ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ เช่น คดียักยอก คดีฉ้อโกง การนับอายุความกรณีนี้นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัว กล่าวคือ รู้ว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและ รู้ตัวผู้กระทำความผิด

 

อายุความในคดีแพ่ง

 

อายุความ 1 ปี ในคดีการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย ซึ่งต้องใช้อายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตาม มาตรา 448 บังคับคือ 1 ปี นับแต่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึ่งต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด คือ  เริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน

อายุความ 2 ปี เช่น คดีเรียกค่าธรรมเนียมการศึกษา คดีเรียกค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ คดีเรียกค่าการงานที่ทำให้หรือสินจ้าง

อายุความ 5 ปี เช่น คดีเรียกดอกเบี้ยค้างชำระ ค่าเช่าทรัพย์สินค้างชำระ เรียกเงินผ่อนคืนเป็นงวด ๆ เรียกเงินค้างจ่าย เช่น เงินเดือน ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น

อายุความ 10 ปี ส่วนมากเป็นคดีที่ประมวลกฎหมาย หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ เช่น อายุความคดีแพ่งผิดสัญญาซื้อขาย เป็นต้น


ผลของการปล่อยให้คดีขาดอายุความ


กรณีคดีอาญา
 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 98 เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด หากผู้นั้นยังมิได้รับโทษ หรือได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนี หรือแม้แต่ยังมิได้ตัวผู้นั้นมาเพื่อรับโทษ โดยเมื่อเวลาล่วงเลยเกินจากที่กำหนดตามกฎหมายระบุไว้ จะลงโทษผู้นั้นมิได้

กรณีคดีแพ่ง แม้คดีจะขาดอายุความแล้ว เจ้าหนี้อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ และลูกหนี้ที่ถูกฟ้องคดีแพ่ง มีสิทธิยกเหตุที่หนี้ขาดอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ เพื่อปฏิเสธการชำระหนี้ตามฟ้อง ซึ่งหากศาลเห็นว่าหนี้ขาดอายุความจริง ศาลต้องยกฟ้อง แต่ถ้าลูกหนี้ไม่ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะยกฟ้องโดยอ้างว่าหนี้ขาดอายุความไม่ได้


ค่าจ้างทนายราคาเท่าไหร่ ให้ฟ้องคดีก่อนหมดอายุความ


เนื่องจากทนายความไม่สามารถประกาศหรือโฆษณาค่าจ้างทนายในเว็บไซต์ได้ เนื่องด้วยข้อบังคับของสภาทนายความ ห้ามมิให้ทนายความโฆษณา หรือประกาศอัตราค่าจ้างว่าความ หรือโฆษณาว่าจะไม่เรียกร้องค่าทนาย ตามข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วย มารยาททนายความ พ.ศ. 2529 ข้อ 17

สอบถามค่าจ้างทนายความ ในการฟ้องลูกหนี้ ผ่านช่องทางไหนได้บ้าง

ทางโทรศัพท์ 02-1252511

ทางไลน์ @tiwanonlaw

Facebook : สำนักงานทนายความติวานนท์

E-mail : info@tiwanonlaw.com

ขอแนะนำให้ท่าน มาพบทนายด้วยตนเองดีที่สุด เพราะการสอบข้อเท็จจริงที่ดีที่สุดระหว่างทนายความกับลูกความ คือการมานั่งคุยกันต่อหน้า

การคุยกันทางโทรศัพท์ ทางไลน์ ทางอีเมล์ อย่างไรเสียก็สู้มานั่งคุยกันต่อหน้าไม่ได้ เพราะทำให้เข้าใจข้อเท็จจริงต่างๆได้ละเอียดกว่า และสามารถซักถาม ทำความเข้าใจและจับกิริยาอาการต่างๆได้ดีที่สุด

Scroll to Top