การฟ้อง คดีอาญา คืออะไร
- คดีอาญา คือ กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่รัฐบัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับความผิดนั้น เป็นกฎหมายที่บัญญัติว่า การกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดเป็นความผิด โดยพนักงานสอบสวนมีอำนาจทำการรับแจ้งความร้องทุกข์
- ข้อสังเกต คดีอาญา คือ คดีที่ฟ้องร้องกันเพราะมีการทำความผิดทางอาญา หรือที่พูดกันง่ายๆ ว่า ฟ้องร้องเพื่อให้อีกฝ่ายรับโทษ
- การช่วยคนที่บริสุทธิ์และการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ บางคดีเราเป็นฝ่ายผู้เสียหาย บางครั้งแจ้งความกับพนักงานตำรวจไปแล้ว ตำรวจก็ไม่ยอมดำเนินเรื่องให้ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ซึ่งทนายความของเราก็มีบทบาทนอกจากการต่อสู้คดีอาญา ก็คือต้องแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานเพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๘ โทษสำหรับลงแก่ผู้กระทำความผิดมีดังนี้ (๑) ประหารชีวิต (๒) จำคุก (๓) กักขัง (๔) ปรับ (๕) ริบทรัพย์สิน |
วัตถุประสงค์ในการดำเนินคดีอาญา
เมื่อคนเรามาอยู่รวมกันในสังคมย่อมมีความขัดแย้งกัน จึงต้องมีกฎหมายวางหลักไว้เพื่อให้คนในสังคมปฏิบัติตามถ้าใครละเมิดกฎหมายก็มีมาตรการบังคับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ใครเข้ามาอยู่ในสังคมรวมกัน ต้องมีความปลอดภัย เขาจะต้องไม่ถูกฆ่า สิทธิในร่างกายเขาต้องไม่ถูกทำร้าย ดังนั้นวัตถุประสงค์ในการดำเนินคดีอาญาก็คือเพื่อความปลอดภัยของคนในสังคม เพื่อรักษาการรักษาความสงบเรียบร้อยของคนในสังคม
ประเภทของคดีอาญา มี 2 ประเภท
- คดีอาญาแผ่นดินหรือคดีอาญาอันยอมความไม่ได้ กล่าวคือเป็นความผิดที่ผู้ถูกกระทำ(ผู้เสียหาย)ถูกผลกระทบโดยตรงและส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ซึ่งมีผลต่อรัฐ ทำให้รัฐได้ผลกระทบจากการกระทำความผิดอาญาไปด้วย ถือว่ารัฐก็เป็นผู้เสียหายไปด้วยโดยปริยาย ทำให้รัฐต้องดำเนินคดี ยอมความกันไม่ได้ แม้ไม่มีการแจ้งความตำรวจก็สามารถเข้ามาดำเนินคดีได้ และอัยการสั่งฟ้องได้โดยไม่มีต้องมีผู้เสียหายร้องทุกข์ เช่น ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ความผิดฐานกระทำการประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย(เมาแล้วขับ) ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ความผิดฐานลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์
- คดีอาญาอันยอมความได้ (เป็นความผิดต่อส่วนตัว) กล่าวคือเป็นความผิดที่ผู้ถูกกระทำ(ผู้เสียหาย)ถูกผลกระทบโดยตรงแต่ไม่ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ทำให้ถ้าจะดำเนินคดีเองต้องแจ้งความดำเนินคดีต่อพนักงานสอบสวนเอง หรือฟ้องศาลเพื่อดำเนินคดีเอง เพราะคนอื่นจะทำแทนไม่ได้ ตำรวจจะเข้าไปดำเนินคดีเลยไม่ได้ เป็นความผิดที่ยอมความกันได้ เช่น ดูหมิ่น หมิ่นประมาท ฉ้อโกง ยักยอกทรัพย์ ทำให้เสียทรัพย์
- ข้อสังเกต ความผิดลหุโทษ แม้จะเป็นความผิดเล็กน้อยก็ตาม แต่ถือว่าเป็นคดีอาญาแผ่นดินไม่ใช้คดีอันยอมความได้ เพียงแต่เป็นความผิดที่กำหนดโทษไว้ว่าถ้าผู้ใดกระทำความผิดลหุโทษ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายมาตรา 102 หรือให้จำไว้เลยว่าความผิดลหุโทษคือความผิดอาญาแผ่นดินไม่สามารถยอมความกันได้ แต่เป็นความผิดที่มี โทษเบาหรือโทษไม่ร้ายแรงเท่านั้น
อายุความของคดีอาญา
อายุความของคดีอาญามีข้อแตกต่างกันเล็กน้อย ระหว่างคดีอาญาแผ่นดินหรือคดีอาญาอันยอมความไม่ได้กับคดีอาญาอันยอมความได้ (เป็นความผิดต่อส่วนตัว) ดังนี้
1.คดีอาญาแผ่นดินหรือคดีอาญาอันยอมความไม่ได้ กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95
ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ”
(1) 20 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุก 20 ปี
(2) 15 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 7 ปี แต่ยังไม่ถึง 20 ปี
(3) 10 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 1 ปี ถึง 7 ปี
(4) 5 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า1 เดือน ถึง 1 ปี
(5) 1 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 เดือนลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น
2.คดีอาญาอันยอมความได้ (เป็นความผิดต่อส่วนตัว)กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96
คดีที่ยอมความได้ต้องแจ้งความดำเนินคดีภายใน 3 เดือน หรือฟ้องศาลภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวคนทำผิด
วิธีการเลือกฟ้องคดีอาญา
เมื่อเราเป็นผู้ถูกทำ ถือว่าเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา มีวิธีดำเนินคดีอยู่ 2 วิธี
- วิธีที่ 1 ร้องทุกข์แจ้งความต่อพนักงานตำรวจ/พนักงานสอบสวน เพื่อให้พนักงานตำรวจดำเนินการสอบสวนเพื่อรวบรวมพยานหลักฐาน หาตัวผู้ต้องหาหรือผู้กระทำความผิดมาสอบข้อเท็จจริง และสรุปสำนวนส่งให้พนักงานอัยการ เพื่อเป็นโจทก์ยืนฟ้องให้แก่ผู้เสียหาย
- วิธีที่ 2 จ้างทนายความให้ดำเนินการฟ้องร้องคดีอาญาต่อศาลเอง มีข้อดีดังนี้
1.ไม่ต้องพึงพาตำรวจ คงจะพบหรือได้ยินกันมามากในกรณี ผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์กับตำรวจปรากฏว่า สามเดือนก็แล้ว หกเดือนก็แล้ว ปีนึงก็แล้ว หรือนานกว่านั้น ตำรวจก็ไม่ทำอะไร แม้กระทั้งบางครั้งการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สอบสวนเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาก็มี มีการวิ่งเต้นเพื่อให้สำนวนคดีอ่อนลงก็มี
2.ลดหน้าที่ภาระของการดำเนินคดีผ่านรัฐ
ส่วนทั้งนี้ใช้ว่าจะกล่าวถึงแต่ข้อดีของการว่าจ้างทนายความฟ้องคดีเอง การว่าจ้างทนายความให้ฟ้องคดีเองก็มีข้อเสีย ดังนี้
1.แสวงหาพยานหลักฐานเป็นไปได้ยาก เช่น ถ้ายังไม่ฟ้องคดี มีอำนาจไปขอดูกล้องวงจรปิดตามหน่วยงานรัฐหรือเอกชนได้ไหม ไม่มีอำนาจไปสอบสวนพยาน ไม่มีอำนาจออกหมายค้น (ต้องอาศัยขอความร่วมมืออย่างเดียว)
2.เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเอง
ขั้นตอนการว่าจ้างทนายฟ้องคดีอาญา
การว่าจ้างทนายฟ้องในการดำเนินฟ้องคดีอาญานั้น เมื่อเราตกเป็นผู้เสียหาย ไม่ว่าจะถูกทำร้าย ถูกหมิ่นประมาท ถูกลักทรัพย์ ฉ้อโกง เราก็มีสิทธิที่จะฟ้องคดีเองต่อศาลได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.พบทนายความเพื่อสอบข้อเท็จจริงรวบรวมพยานหลักฐาน เนื่องจากการฟ้องคดีอาญาเป็นเรื่องที่ซับซ้อน และมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อให้ทนายความสอบข้อเท็จจริงโดยละเอียด ว่าคดีที่จะฟ้องเป็นคดีอาญาจริงหรือไม่ พยานหลักฐานเพียงพอจะฟ้องได้ไหม (ถ้าฟ้องแล้วแพ้ก็มีสิทธิที่จะถูกฟ้องกลับได้)
2.ทนายความรวบรวมและจัดทำคำฟ้องให้ตรวจสอบ ใช้ระยะเวลา 1-2สัปดาห์ หรือนานกว่านั้น ระยะเวลาขึ้นอยู่กับรายละเอียดของคดี พอร่างคำฟ้องเสร็จก็ส่งให้ลูกความทำการตรวจสอบ สุดท้ายแล้วคนฟ้องคดี ต้องเป็นคนลงรายมือชื่อในคำฟ้องคดีอาญาเอง เพื่อตรวจสอบเนื้อหาว่าข้อเท็จจริงส่วนไหนยังไม่ถูกต้อง
3.ทนายความยื่นฟ้องต่อคดีอาญาต่อศาลศาล ศาลก็จะกำหนดวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง ประมาณ 2 เดือน หลังจากวันที่ยื่นฟ้อง
4.ต้องซักซ้อมกับทนายความในขั้นตอนต่างๆให้เป็นอย่างดี
5.วันนัดไต่ส่วนมูลฟ้อง คือวันไปเล่าเรื่องให้ศาลฟังและแสดงพยานหลักฐานในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง เพื่อให้ศาลเชื่อว่าคดีที่ฟ้องมีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับพิจารณาได้ ศาลก็ประทับรับฟ้องคดีมีมูล
6.วันนัดพร้อมสอบคำให้การ จำเลยต้องมาศาล “เจรจาไกล่เกลี่ยเบื้องต้นกับจำเลยในวันนัดพร้อมสอบคำให้การ เช่น คดีหมิ่นประมาทอาจจะเรียกค่าเสียหายและให้จำเลยโพสต์ขอโทษ คดีเกี่ยวกับทรัพย์ก็ขอให้จำเลยชดใช้เงิน เป็นต้น ถ้าไม่เจรจาเลย เพื่อให้จำเลยได้รับโทษจำคุกก็เป็นสิทธิ์ของเราที่สามารถทำได้
7.ถ้าไกล่เกลี่ยไม่ได้ ก็นำเนินการฟ้องร้องตามขั้นตอนต่อไป นัดตรวจพยานหลักฐาน นัดสืบพยานต่อไป ประมาณสองนัด หากศาลพิพากษาว่าจำเลยผิด จำเลยก็ติดคุก
ค่าจ้างทนายในการฟ้องคดีอาญา
เนื่องจากทนายความไม่สามารถประกาศหรือโฆษณาค่าจ้างทนายในเว็บไซต์ได้ เนื่องด้วยข้อบังคับของสภาทนายความ ห้ามมิให้ทนายความโฆษณา หรือประกาศอัตราค่าจ้างว่าความ หรือโฆษณาว่าจะไม่เรียกร้องค่าทนาย ตามข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วย มารยาททนายความ พ.ศ. 2529 ข้อ 17
สอบถามค่าจ้างทนายความ ในการฟ้องลูกหนี้ ผ่านช่องทางไหนได้บ้าง
ทางโทรศัพท์ 02-125-2511
ทางไลน์ @tiwanonlaw
Facebook : สำนักงานทนายความติวานนท์
E-mail : info@tiwanonlaw.com
ขอแนะนำให้ท่าน มาพบทนายด้วยตนเองดีที่สุด เพราะการสอบข้อเท็จจริงที่ดีที่สุดระหว่างทนายความกับลูกความ คือการมานั่งคุยกันต่อหน้า
การคุยกันทางโทรศัพท์ ทางไลน์ ทางอีเมล์ อย่างไรเสียก็สู้มานั่งคุยกันต่อหน้าไม่ได้ เพราะทำให้เข้าใจข้อเท็จจริงต่างๆได้ละเอียดกว่า และสามารถซักถาม ทำความเข้าใจและจับกิริยาอาการต่างๆได้ดีที่สุด