การจดทะเบียนบริษัท และประเภท
ในปัจจุบันหลายคนหันมาเริ่มทำธุรกิจของตัวเอง ซึ่งธุรกิจนั้นอาจเป็นธุรกิจเล็กๆ ในครอบครัวหรือแม้แต่ธุรกิจที่ขยับขยายจนกลายมาเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน แต่เมื่อจะขยายกิจการของตัวเองแล้ว “การจดทะเบียน” ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ ถ้าตัดสินใจได้แล้วว่าจะจดทะเบียนฯ เรื่องต่อมาที่ต้องคิดคือจะจดทะเบียนประเภทไหนดี เพราะการจดทะเบียนบริษัทแบ่งประเภทย่อยได้อีก 2 อย่าง ได้แก่
- จดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา)
คือ การจดทะเบียนบริษัทของกิจการที่มีผู้ประกอบการเป็นเจ้าของเพียงคนเดียว คิดเอง ทำเอง มีอิสระและสามารถตัดสินใจทุกอย่างเกี่ยวกับกิจการได้เต็มที่ เป็นการจดทะเบียนเพื่อบอกให้ชาวบ้านรับรู้ว่า เราทำธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
การจดทะเบียนพาณิชย์จะเหมาะกับกิจการขนาดเล็กที่ขายสินค้าหรือบริการง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก มูลค่าของกิจการไม่สูงมาก ข้อดีคือผู้ประกอบการจะได้รับกำไรเต็ม ๆ และเสียภาษีโดยคำนวณอัตราภาษีหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วเท่านั้น แต่ถ้ากิจการขาดทุนก็ต้องรับผิดชอบทุกอย่างรวมถึงหนี้สินแบบไม่จำกัดเช่นกัน
- จดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนนิติบุคคล
อันนี้เป็นเหมาะสำหรับกิจการที่มีผู้ประกอบการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน การกระทำทุกอย่างจะเป็นไปในนามกิจการทั้งหมด
ข้อดีคือ ภาษีเงินได้สูงสุดที่ต้องจ่ายจะอยู่ที่ 20% ซึ่งน้อยกว่าจดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนพาณิชย์ ส่วนข้อเสียคือ การดำเนินกิจการอาจมีความล่าช้าเพราะมีผู้ตัดสินใจหลายคน
ทะเบียนนิติบุคคลมี 3 ประเภทแบ่งตามการรับผิดชอบหนี้สิน ที่ “จำกัด” หรือ “ไม่จำกัดจำนวน”ดังนี้
2.1 ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญ
คือ กิจการที่มีผู้ประกอบการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป จะจดหรือไม่จดทะเบียนนิติบุคคลก็ได้ ความรับผิดชอบของหุ้นส่วนมีประเภทเดียวเท่านั้น คือ ผู้ที่รับผิดชอบในหนี้สินแบบ “ไม่จำกัดจำนวน” ผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถตกลงทำกิจการร่วมกันและแบ่งปันกำไรจากกิจการได้ แต่ถ้ากิจการขาดทุนหุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดชอบหนี้สินร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวน
2.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด
คือ กิจการที่มีผู้ประกอบการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ต้องจดทะเบียนนิติบุคคล ความรับผิดชอบของหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบบ “จำกัด” และ แบบ “ไม่จำกัด” ผู้ที่รับผิดชอบในหนี้สินแบบ “จำกัด” จะไม่สามารถตัดสินใจในกิจการได้ และผู้ที่รับผิดชอบในหนี้สินแบบ “ไม่จำกัด” จะมีสิทธิในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ในกิจการได้ทั้งหมด ถ้าหากกิจการขาดทุนห้างหุ้นส่วนจำกัดจะไม่ต้องจ่ายภาษี
2.3 บริษัทจำกัด
คือ กิจการที่มีผู้ประกอบการ 2 คนขึ้นไป ต้องจดทะเบียนนิติบุคคล ความรับผิดชอบของหุ้นส่วนมีประเภทเดียว คือ ผู้ที่รับผิดชอบในหนี้สินแบบ “จำกัด” ไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระ ซึ่งกิจการแบบนี้ต้องมีภาพลักษณ์ดี มีการวางแผนกิจการรัดกุม และมีการบริหารงานในรูปแบบของคณะกรรมการบริษัท เพื่อทำให้กิจการเกิดความน่าเชื่อถือ
ตั้งชื่อบริษัทที่ต้องการใช้ในการจดทะเบียน
ก่อนทำการจดทะเบียนบริษัท จะต้องมีชื่อบริษัทขึ้นมาก่อนโดยชื่อเหล่านั้นต้องไม่ซ้ำหรือคล้ายกับบริษัทอื่นๆ ที่จดทะเบียนไปแล้ว โดยการคิดชื่อเพื่อใช้ในการจดทะเบียนนั้นเราสามารถยื่นจองได้สูงสุดถึง 3 ชื่อ และจะได้รับการพิจารณาจากชื่อแรก หากชื่อแรกซ้ำหรือไม่ผ่านเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็นายทะเบียนก็จะพิจารณาชื่อในลำดับถัดไปแทน
ส่วนการยื่นจองชื่อเพื่อจดทะเบียนบริษัท สามารถทำได้ 2 แบบ คือ
2.1.ยื่นด้วยตนเองต่อนายทะเบียน ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตที่เราอาศัยอยู่ หรือหากเราอยู่ต่างจังหวัด ก็สามารถยื่นได้ที่สำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัด
2.2.จองผ่านอินเตอร์เน็ต โดยกรอกข้อมูลที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th
เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียน
จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
-หนังสือบริคณห์สนธิ คือ หนังสือแสดงความต้องการในการจัดตั้งบริษัท โดยจะต้องยื่นไม่เกิน 30 วันจากวันที่นายทะเบียนรับรองชื่อเรียบร้อย
-ข้อมูลที่ต้องใช้ในการจัดตั้งบริษัท
-ชื่อของบริษัท (ตามที่ได้จองชื่อไว้)
-ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ / สาขา
-วัตถุประสงค์ของบริษัท
-ทุนจดทะเบียน
-ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ ของพยาน 2 คน
-ข้อบังคับ (ถ้ามี)
-จำนวนทุน (ค่าหุ้น) ที่เรียกชําระแล้ว อยางน้อยร้อยละ 25% ของทุนจดทะเบียน
-ชื่อ ที่อยู่ อายุของกรรมการ
-รายชื่อหรือจำนวนกรรมการที่มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท (อำนาจกรรมการ)
-ชื่อ เลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาตพร้อมค่าตอบแทน
-ชื่อ ที่อยู่ สัญชาติ และจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละคน
เมื่อส่งเอกสารตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ให้รอการตรวจสอบจากนายทะเบียน หากมีส่วนไหนจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมจะได้รับการแจ้งกลับ
เตรียมเอกสารหลักฐานเพื่อใช้จดทะเบียนบริษัท
เอกสารที่ต้องเตรียมมา
-แบบจองชื่อนิติบุคคล
-สำเนาบัตรประจําตัวของผู้เริ่มก่อการและกรรมการทุกคน
-สำเนาหลักฐานการรับชําระคาหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น
-แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
สิ่งสำคัญ เอกสารทุกฉบับผู้ขอจดทะเบียนจะต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องอย่างน้อยหนึ่งคน ยกเว้นสำเนาบัตรประจําตัวหรือหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน เจ้าของบัตรจะต้องเป็นผู้เซ็นรับรองความถูกต้องด้วยตนเอง
-ยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัท ยื่นคำขอได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตที่ใกล้บ้านผู้ประกอบการทุกจังหวัดทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 87 แห่ง เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนและมอบหนังสือรับรอง ก็แสดงว่าผู้ประกอบการเป็นเจ้าของบริษัทที่ได้จัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
จดทะเบียนบริษัทมีค่าธรรมเนียมเท่าไร
-ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ คิดจากเงินทุนแสนละ 50 บาท โดยเกณฑ์การชำระขั้นต่ำอยู่ที่ 500 บาท และขั้นสูงได้ไม่เกิน 25,000 บาท
-ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัท ตามทุนจดทะเบียนแสนละ 500 บาท ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 5,000 บาท และขั้นสูงไม่เกิน 250,000 บาท
-ค่าธรรมเนียมออกหนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท
-ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 100 บาท
-ค่ารับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ 50 บาท
จดทะเบียนบริษัทใช้เวลากี่วัน
การจองชื่อและยื่นตรวจเอกสารออนไลน์ใช้เวลาประมาณ 1 วัน และเมื่อนายทะเบียนตรวจสอบเอกสารเสร็จดำเนินการยื่นจดทะเบียนใช้เวลาประมาณ 1 วันเป็นอันเสร็จสิ้น
การจดทะเบียนบริษัทส่งผลดีกับบริษัทของผู้ประกอบการหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาษี ความน่าเชื่อถือของธุรกิจ รวมทั้งสร้างโอกาสในการขอสินเชื่อเพื่อพัฒนาธุรกิจของผู้ประกอบการและสร้างความถูกต้องในเรื่องของกฎหมาย เพราะฉะนั้นเมื่อผู้ประกอบการศึกษาการจดทะเบียนบริษัทอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว จะพบว่าการจดทะเบียนย่อมสร้างประโยชน์มากกว่าโทษ
ค่าจ้างทนายในการยืนคำขอจดทะเบียนบริษัท
เนื่องจากทนายความไม่สามารถประกาศหรือโฆษณาค่าจ้างทนายในเว็บไซต์ได้ เนื่องด้วยข้อบังคับของสภาทนายความ ห้ามมิให้ทนายความโฆษณา หรือประกาศอัตราค่าจ้างว่าความ หรือโฆษณาว่าจะไม่เรียกร้องค่าทนาย ตามข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วย มารยาททนายความ พ.ศ. 2529 ข้อ 17
สอบถามค่าจ้างทนายความ ในการฟ้องลูกหนี้ ผ่านช่องทางไหนได้บ้าง
ทางโทรศัพท์ 02-1260718
ทางไลน์ @tiwanonlaw
Facebook : สำนักงานทนายความติวานนท์
E-mail : info@tiwanonlaw.com
ขอแนะนำให้ท่าน มาพบทนายด้วยตนเองดีที่สุด เพราะการสอบข้อเท็จจริงที่ดีที่สุดระหว่างทนายความกับลูกความ คือการมานั่งคุยกันต่อหน้า
การคุยกันทางโทรศัพท์ ทางไลน์ ทางอีเมล์ อย่างไรเสียก็สู้มานั่งคุยกันต่อหน้าไม่ได้ เพราะทำให้เข้าใจข้อเท็จจริงต่างๆได้ละเอียดกว่า และสามารถซักถาม ทำความเข้าใจและจับกิริยาอาการต่างๆได้ดีที่สุด