เมื่อถูกฟ้องคดีแพ่ง ต้องทำอย่างไร

เมื่อถูกฟ้องคดีแพ่ง หรือ ได้รับหมายศาล จะต้องทำอย่างไร

 

เมื่อถูกฟ้องคดีแพ่ง หลายคนตกใจ เพราะว่าอยู่มาวันดีคืนดี ปรากฏว่ามีหมายศาลคดีแพ่งมาแขวนไว้หน้าบ้าน พออ่านดู อ้าว ทำไมชื่อของเราจึงถูกเป็นจำเลยในหมายศาล หลายคนอาจจกใจ เพราะไม่เคยไปขึ้นโรงขึ้นศาลมาก่อน จะทำอย่างไรดี จะปรึกษาใครดี เริ่มรนไปหมดแล้ว วันนี้สำนักงานทนายความติวานนท์ ซึ่งเรามี ทนายความ ที่เชี่ยวชาญด้านคดีแพ่ง จะมาเล่าให้ฟังว่า เมื่อเราได้รับหมายศาลคดีแพ่ง เราควรจะต้องทำอย่างไรบ้าง

 

Note : หากท่านต้องการสอบถามค่าจ้างทนายความในการแก้ต่างคดีแพ่ง อ่านเพิ่มที่ ค่าจ้างทนาย

 

ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติเมื่อถูกฟ้องคดีแพ่ง

 

เมื่อถูกฟ้องคดีแพ่งแล้ว เราจะทำอะไรจะหาทางออกอย่างไรได้บ้าง ถ้าถูกฟ้องคดีแพ่ง วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดคือท่านจะต้องมาพบทนายความ เอาหมายศาลมาให้กับทนายความ มาเล่าเรื่องจริงทั้งหมดให้กับทนายความฟัง ว่าเรื่องที่ตนถูกฟ้องทั้งที่มาที่ไปเป็นยังไงมีเอกสารหลักฐาน พยานบุคลคล พยานเอกสาร อะไรที่กี่ยวข้องนำมาด้วย เพื่อให้ทนายความตรวจสอบข้อเท็จจริง ประเมิณรูปคดี เพื่อหาทางออกให้ สรุปรูปคดี

 

ประเภทรูปคดี เพื่อวางแนวทางการแก้ต่างคดีแพ่ง

 

  • คดีที่ไม่มีทางสู้ได้เลย เช่น ได้ไปกู้ยืมกันจริงและมีการคิดดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด หรือ ผิดสัญญาคือได้รับเงินตามสัญญาแล้วแต่ไม่ยอมส่งมอบสิ้นค้าให้คู่สัญญา วิธีปฏิบัติเพื่อหาทางออก คือ ต้องไปเจรจาโดยส่งทนายความเข้าไปเจรจาไกล่เกลี่ย โดยขอต่อรองลดยอดจำนวนเงิน ขอลดดอกเบี้ย ขอแนวทางการผ่อนชำระ เมื่อคดีอยู่ชั้นศาลเมื่อให้ทนายความเข้าไปเจรจา ก็มักจะได้ขอเสนอที่พึงพอใจกับมา แต่ถ้าทางผู้ฟ้องไม่มีทางออกให้เลย ทนายความก็จะสู้คดีให้โดยไม่ได้หวังผลชนะคดี แต่เพื่อยื้อระยะเวลาให้นานที่สุด
  • คดีที่มีทางสู้ได้บางส่วน เช่น ถูกฟ้องคดีกู้ยืมเงินแต่ปรากฏว่าเราได้จ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่เกิดกฏหมายกำหนดมาตลอด หรือถูกฟ้องคดีละเมิดมาแต่ถูกเรียกค่าเสียหายมาสูงเกินจริง วิธีปฏิบัติ ทนายความจะยืนคำให้การเพื่อต่อสู้คดีไปตามความเป็นจริง สู้ว่าดอกเบี้ยที่คิดนั้นเกิดกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือค่าเสียหายที่เรียกมาสูงเกินส่วน (เจรจาไกล่เกลี่ยและต่อสู้คดีไปพร้อมๆกัน)
  • คดีที่เราไม่ผิดแน่นอน รูปคดีชนะแน่นอนหรือโอกาศชนะสูงมาก เช่น ถูกฟ้องละเมิด แต่พนักงานสอบสวนหรือร้อยเวรชึ้แล้วว่าผู้ถูกฟ้องไม่ได้ประมาท พยานหลักฐานชี้เลยว่าผู้ถูกฟ้องไม่ได้ประมาท หรอกู้ยืมเงินกันแต่ปรากฏว่าเป็นสัญญากู้ปลอม วิธีปฏิบัติให้ทนายความต่อสู้คดีเลย ซึ่งต้องตั้งอยู่บนความเป็นจริงของรูปคดี
  • รูปคดีก้ำกึ่ง ถ้าชนะจะชนะทั้งหมด ผู้แพ้ก็จะแพ้ทั้งหมดเลย เช่น คดีเปิดทางจำเป็น ภาระจำยอม วิธีปฏิบัติ เจรจาไกล่เกลี่ยพูดคุยกัน ยกเว้นฝ่ายใดไม่ยินยอม ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล

เมื่อถูกฟ้องคดีแพ่ง จำเป็นต้องไปศาลได้หรือไม่

 

ทนายแนะนำให้จำเลยไปตามวันที่ศาลนัด ถ้าไม่ไปศาลจะเกิดผลเสียดังนี้

  • เสียสิทธิในการต่อสู้คดี เพราในคดีแพ่งถ้าได้เข้าไปต่อสู้คดีก็อาจจะชนะคดี เช่น หนี้ที่ที่ขาดอายุความ ซึ่งถ้าเกิดไม่ไปศาลโอกาศที่จะแพ้คดีก็มีสุง
  • เสียสิทธิในการเจรจาไกล่เกลี่ย ซึ่งการไกล่เกลี่ยเป็นโอกาศอันดีที่ได้พูดคุยกับคูกรณีขอผ่อนผันชำระหนี้หรือขอลดยอดหนี้
  • เมื่อศาลตัดสินให้แพ้คดี ก็จะต้องถูกยึดทรัพย์บังคับคดี
  • สรุปคือเมื่อได้รับหมายเรียกของศาลและคำฟ้องแล้ว ก็ต้องไปศาลตามนัด

 

วันนัดต่างๆในคดีแพ่ง ที่ผู้ถูกฟ้องควรรู้

 

1.วันนัดไกล่เกลี่ยหรือนัดพร้อม การพูดคุยตกลงกันนนั้นเป็นทางออกที่ดีที่สุด

2.วันนัดชี้สองสถาน คือวันนัดเพื่อกำหนดความพร้อมในการสืบพยานของคู่ความเพื่อให้การสืบพยานรวดเร็วขึ้น  คำว่าชี้สองสถาน หมายความว่า สถานไหนที่เป็นประเด็นข้อพิพาทที่สามารถรับกันได้ แต่ประเด็นไหนที่รับไม่ได้ก็สืบพยานโดยเอาพยานหลักฐานมาต่อสู้คดีกัน

3.วันนัดสืบพยาน คือการเข้าสู่กระบวนนการนำพยานหลักฐานมาเสนอต่อศาล ซึ่งใช้ระเวลาไม่เกิน 1-3 วัน

4.วันนัดฟังคำพิพากษาหรือวันนัดฟังคำสั่ง ประมาณ 1-2 เดือน หลังทำการสืบพยานกันเสร็จสิ้นน ซึ่งนัดนี้ตัวความไม่จำเป็นต้องไป

Scroll to Top