ทนายอาสา

ทนายอาสา คือ ใคร

ทนายอาสา คือ ทนายความที่เป็นอาสาสมัคร ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาทางกฎหมายกับประชาชนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย พวกเขาจะขึ้นทะเบียนเป็นทนายอาสากับหน่วยงานต้นสังกัด เช่น สภาทนายความ ศาล หรือสำนักงานอัยการ เพื่อคอยให้คำปรึกษา แนะนำวิธีดำเนินการ การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทางกฎหมาย ว่าต้องทำยังไง แนวทางไหนเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรม หรืออยากจะทำสัญญาต่าง ๆ แต่ไม่มั่นใจข้อกฎหมายและมีเงินไม่มากพอที่จะว่าจ้างทนายความให้ร่างสัญญาให้ หรืออยากปรึกษาเกี่ยวกับรายละเอียดในสัญญา ก็สามารถขอความช่วยเหลือจากทนายอาสาได้

ทนายความ คืออะไร


เมื่อมีเรื่องร้อนใจ ไม่ได้รับความเป็นธรรมแต่ไม่รู้จะปรึกษาใคร หลายคนก็นึกถึงทนายความหรือทนายอาสา ซึ่งส่วนใหญ่จะคิดว่าทนายอาสา คือทนายปรึกษาฟรี  ทนายทำคดีฟรี ให้ความช่วยเหลือฟรี แต่ความจริงแล้วทนายความกับทนายอาสาคือใคร และแตกต่างกันอย่างไร 

ทนายความคือผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ว่าความ   แก้ต่างคู่ความในคดี นับได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการยุติธรรม โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นทนายความอิสระ โดยหากมีประชาชน บริษัทหรือองค์กรใดๆ เกิดไม่ได้รับความยุติธรรมขึ้น ทนายจะมีหน้าที่ว่าความเพื่อแก้ต่างในคดีนั้น ๆ ให้ตามข้อกฎหมาย

       ทนายจะมีหน้าที่คล้ายคลึงกับพนักงานอัยการ ความแตกต่าง คือ พนักงานอัยการเป็นทนายความของแผ่นดิน ซึ่งได้รับเงินเดือนจากรัฐ แต่ทนายความจะได้รับเงินจากการว่าจ้างจากบุคคลหรือองค์กรทั่วไปในการว่าความหรือการเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

       ว่าความและแก้ต่าง หมายถึง แก้ไขข้อกล่าวหาแทนคู่ความในคดีในชั้นศาลด้วยหลักฐานทางกฎหมาย เช่น ทนายทำหน้าที่ว่าความให้ลูกความของตนเอง เพื่อให้พ้นข้อกล่าวหา

ลักษณะงาน

       ทนายความจะทำหน้าที่ว่าความคดีอาญาและคดีแพ่ง ให้คำแนะนำแก่ลูกความเกี่ยวกับปัญหาบุคคลและธุรกิจในแง่ของ จัดการรายละเอียดด้านกฎหมายในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคดีความแทนลูกความในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งดำเนินการฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล งานของทนายความคือการปกป้องคุ้มครองลูกความ(ผู้ว่าจ้างทนาย) ด้วยการชี้แจ้งข้อกฎหมาย เพื่อแสดงให้เห็นว่าลูกความของตนไม่มีความผิด


ทนายความมีกี่ประเภท

 

แต่ก่อนมีพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2508 ได้ระบุไว้ว่า ทนายความได้แก่ ผู้ที่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตจากเนติบัณฑิตยสภา ซึ่งจะแบ่งเป็น

– ทนายความชั้นหนึ่ง มีสิทธิว่าความในศาลได้ทั่วราชอาณาจักร และ

– ทนายความชั้นสอง มีสิทธิว่าความในศาลในเขตจังหวัดรวม ๑๐ จังหวัด ตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต และมีสิทธิว่าความในศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา เฉพาะคดีที่ศาลชั้นต้นในเขตจังหวัดดังกล่าวได้พิจารณาหรือสั่ง และมีสิทธิตามประเด็นไปว่าความในศาลอื่นได้ด้วย

แต่ปัจจุบันนี้มีพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 ไม่ได้มีการแบ่งทนายออกเป็นทนายความชั้นหนึ่งหรือทนายความชั้นสองอีกต่อไปแล้ว ทนายที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดจะมีศักดิ์และสิทธิเหมือนกันทุกคน

 

ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างทนายอาสาหรือไม่

 

ทนายอาสาที่เราไปพบที่ศาล สภาทนายความ หรือสำนักงานอัยการ สามารถให้คำปรึกษาฟรีกับเราทันทีที่ไปพบได้ แต่ทนายอาสารับทำคดีฟรีเองไม่ได้ หรือติดต่อมาขอว่าความเองทีหลังก็ไม่ได้เหมือนกัน

ต้องการทนายอาสาเพื่อว่าความในคดีต่าง ๆ ให้ติดต่อสภาทนายความประจำจังหวัด   

ถ้าคุณมีฐานะยากจน ไม่มีเงินจ้างทนายความและไม่ได้รับความเป็นธรรม สำนักงานคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย สภาทนายความ จะส่งทนายอาสามาดูแลและดำเนินการต่าง ๆ ตามกฎหมายให้ฟรี ตามพรบ.ทนายความ มาตรา 79  ซึ่งกำหนดให้มีการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ดังนี้

  1. การให้คำปรึกษา หรือแนะนำเกี่ยวกับกฎหมาย 
  2. การร่างนิติกรรมสัญญา 
  3. การจัดหาทนายความว่าต่างแก้ต่าง 
  • ติดต่อขอความช่วยเหลือจากสำนักงานอัยการประจำจังหวัด

มีหลักเกณฑ์เหมือนกับสภาทนายความ คือ จะต้องยากจน ไม่มีเงินจ้างทนายความ และไม่ได้รับความเป็นธรรมเหมือนกัน

 

ความแตกต่างของทนาย กับ ทนายอาสา

 

ทำไมปรึกษาทนายอาสาแล้วเขาไม่ฟ้องให้เลย  ทำไมต้องยุ่งยากไปยื่นเรื่อง  ทนายที่ให้คำปรึกษาอยู่ทั่วไปว่าความฟรีไม่ได้เหรอ  หลายคนคงมีคำถามแบบนี้อยู่ในใจใช่ไหม

จริง ๆ แล้วมีข้อบังคับอยู่นะว่าห้ามให้ทนายว่าความฟรี เพราะจะเป็นการทำลายอาชีพของเพื่อนทนายความด้วยกัน ซึ่งการว่าความแต่ละครั้งมีการดำเนินการหลายขั้นตอน ใช้ระยะเวลานานพอสมควร และทนายความถือเป็นวิชาชีพหนึ่งที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถหาเงินเพื่อนำมาใช้ดำรงชีวิตเหมือนคนทั่วไป ดังนั้นการว่าความฟรีของทนายอาสาจึงต้องมีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดมาก ๆ ไม่ใช่ใครก็ทำได้โดยพละการ

ทนายอาสาให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายฟรีแล้วเขาเอาเงินจากไหนไปใช้ดำรงชีวิต ? แล้วทนายความที่รัฐจัดหาให้เวลาเป็นจำเลยเป็นทนายอาสาเหมือนกันไหม ?

-ทนายอาสา ได้รับค่าตอบแทนจากหน่วยงานต้นสังกัด เช่น สภาทนายความ หรือ สำนักงานอัยการ 

 หน่วยงานต้นสังกัดจะเป็นผู้จัดสรรค่าตอบแทนให้กับทนายอาสา ดังนั้นทนายอาสาจะเรียกเก็บเงินจากประชาชนที่มารับบริการไม่ได้เด็ดขาด ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย พ.ศ. 2529 ข้อ 16 ที่ว่า “ประชาชนผู้ได้รับความช่วยเหลือไม่ต้องเสียค่าทนายความ หรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ให้แก่ทนายความผู้ดำเนินการทั้งสิ้น”  

 

-ทนายขอแรงเป็นทนายอาสาที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ศาลตั้งให้กับจำเลยหรือผู้ต้องหาในคดีอาญาที่ไม่มีทนายความเท่านั้น 

ทนายขอแรง จะช่วยแก้ต่างให้ได้รับความเป็นธรรม เขาจะได้รับเงินรางวัลจากศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่บังคับให้รัฐต้องจัดหาทนายความให้ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการจ้างทนายความ ซึ่งทนายขอแรงจะขึ้นทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ศาลตามอายุใบอนุญาตหรืออายุตั๋วทนาย และเมื่อถูกแต่งตั้งแล้วพวกเขาปฏิเสธการรับหน้าที่ไม่ได้ ยกเว้นแต่จะมีเหตุผลที่สมควรเท่านั้น 

 

-ทนายความอิสระ  ให้คำปรึกษาฟรีได้เหมือนกัน 

ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ จะมีทนายความเปิดสำนักงานหรือเว็บใซต์ขึ้นมาเพื่อให้คนที่มีปัญหาเข้าไปสอบถาม หรือให้ความรู้ประชาชนผ่าน YouTube Facebook หรือสื่อโซเชี่ยลต่าง ๆ  แต่ทนายความก็มีค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตเหมือนคนทั่ว ๆ ไป ดังนั้นเขาจะรับว่าความฟรีไม่ได้ และเขาจะได้รับค่าจ้างจากลูกความ ซึ่งถือว่าลูกความเป็นผู้ว่าจ้างนั่นเอง

 

ค่าจ้างทนายราคาเท่าไหร่

เนื่องจากทนายความไม่สามารถประกาศหรือโฆษณาค่าจ้างทนายในเว็บไซต์ได้ เนื่องด้วยข้อบังคับของสภาทนายความ ห้ามมิให้ทนายความโฆษณา หรือประกาศอัตราค่าจ้างว่าความ หรือโฆษณาว่าจะไม่เรียกร้องค่าทนาย ตามข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วย มารยาททนายความ พ.ศ. 2529 ข้อ 17

สอบถามค่าจ้างทนายความ ในการฟ้องลูกหนี้ ผ่านช่องทางไหนได้บ้าง

ทางโทรศัพท์ 02-1252511

ทางไลน์ @tiwanonlaw

Facebook : สำนักงานทนายความติวานนท์

E-mail : info@tiwanonlaw.com

ขอแนะนำให้ท่าน มาพบทนายด้วยตนเองดีที่สุด เพราะการสอบข้อเท็จจริงที่ดีที่สุดระหว่างทนายความกับลูกความ คือการมานั่งคุยกันต่อหน้า

การคุยกันทางโทรศัพท์ ทางไลน์ ทางอีเมล์ อย่างไรเสียก็สู้มานั่งคุยกันต่อหน้าไม่ได้ เพราะทำให้เข้าใจข้อเท็จจริงต่างๆได้ละเอียดกว่า และสามารถซักถาม ทำความเข้าใจและจับกิริยาอาการต่างๆได้ดีที่สุด

Scroll to Top