หมายเรียก คืออะไร
หมายเรียก ตามประมวลกฎหมาย ป.วิ.อ.มาตรา ๕๒ การที่จะให้บุคคลใดมาที่พนักงานสอบสวนหรือมาที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่หรือมาศาล เนื่องในการสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณาคดี หรือการอย่างอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ จักต้องมีหมายเรียกของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่หรือของศาล แล้วแต่กรณี
แต่ในกรณีที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ไปทำการสอบสวนด้วยตนเอง ย่อมมีอำนาจที่จะเรียกผู้ต้องหาหรือพยานมาได้โดยไม่ต้องออกหมายเรียก
มาตรา ๕๓ หมายเรียกต้องทำเป็นหนังสือและมีข้อความ ดังต่อไปนี้
(๑) สถานที่ที่ออกหมาย
(๒) วันเดือนปีที่ออกหมาย
(๓) ชื่อและตำบลที่อยู่ของบุคคลที่ออกหมายเรียกให้มา
(๔) เหตุที่ต้องเรียกผู้นั้นมา
(๕) สถานที่ วันเดือนปีและเวลาที่จะให้ผู้นั้นไปถึง
(๖) ลายมือชื่อและประทับตราของศาล หรือลายมือชื่อและตำแหน่งเจ้าพนักงานผู้ออกหมาย
สรุป หมายเรียกคือ หมายที่ออกโดยพนักงานสอบสวน ไม่ต้องขอศาล
Note : หากท่านต้องการสอบถามค่าจ้างทนายความในการฟ้องคดี ก่อนที่คดีจะหมดอายุความ อ่านเพิ่มที่ ค่าจ้างทนาย
วิธีปฏิบัติเมื่อได้รับหมายเรียก
- อ่านหมายให้ละเอียด ว่าเป็นหมายเรียกครั้งที่เท่าไร เป็นหมายเรียกผู้ต้องหาให้ไปรับทราบข้อกล่าวหา หรือเป็นหมายเรียกพยาน หากท่านมีข้อสงสัยให้โทรศัพท์สอบถามตามเบอร์โทรศัพท์ของพนักงานสอบสวนที่ระบุไว้ในหมาย
- ในหมายเรียกจะระบุวันที่ที่เรียกให้ท่านไปพบ หากท่านไม่สามารถไปตามหมายได้ ให้โทรศัพท์แจ้งพนักงานสอบสวนและส่งหนังสือแจ้งขอเลื่อนนัดก่อนวันที่ที่ระบุในหมาย
- ท่านควรปรึกษาทนายความ และไปพบพนักงานสอบสวนพร้อมทนายความหรือบุคคลที่ไว้ใจ
- หากท่านได้รับหมายเรียกครั้งที่ 1 แล้วไม่ไปตามหมาย พนักงานสอบสวนจะออกหมายเรียกครั้งที่ 2 และหากไม่ไปตามหมายเรียกครั้งที่ 2 ท่านอาจถูกออกหมายจับได้
- หากมีการนำตัวท่านไปแถลงข่าว ท่านมีสิทธิปฏิเสธไม่ยินยอมแถลงข่าวได้
- กรณีมีหมายเรียก พนักงานตำรวจไม่มีอำนาจควบคุมตัวท่าน
เมื่อถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัว ควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร?
เข้าร่วมชุมนุมแล้วถูกจับ
หากเข้าร่วมชุมนุมแล้วถูกจับ ให้ปฏิบัติตัวตามข้อแนะนำ ดังต่อไปนี้
- แจ้งครอบครัว ญาติ เพื่อ หรือผู้ไว้วางใจให้ทราบสถานการณ์ โดยระบุชื่อ – สกุล สถานที่ถูกจับ และสถานที่ที่ตำรวจจะนำไปควบคุมตัวอย่างชัดเจน
- ติดต่อทนายความ หรือที่ปรึกษาทางกฎหมาย พร้อมแจ้งชื่อสกุล และเบอร์โทรติดต่อของตัวเองและญาติที่ไว้ใจได้ พร้อมสถานที่ที่ถูกนำไปควบคุมตัว
- หากถูกควบคุมตัวกะทันหัน และไม่สามารถใช้เครื่องมือสื่อสารในเวลานั้นได้ อาจตะโกนชื่อนามสกุลจริง พร้อมเบอร์โทรครอบครัว หรือเพื่อนดัง ๆ ให้บุคคลอื่น ๆ ทราบเรื่องการถูกจับกุม
หมายเหตุ เจ้าหน้าที่ไม่มีสิทธิยึดเครื่องมือสื่อสาร เว้นแต่มีหมายศาลมาแสดงต่อหน้าเท่านั้น
ก่อนอื่น อย่าลืมท่องเอาไว้ให้ขึ้นใจว่า มีสิทธิพบทนาย! มีสิทธิพบทนาย มีสิทธิพบทนาย ไม่ว่าจะเป็นคดีอะไร หรืออยู่ในชั้นไหนก็ตาม
เมื่อได้ไปตามหมายเรียก
ต่อมา หลังจากได้รับหมาย ขั้นต่อมาคือ การรับทราบข้อกล่าวหา ซึ่งเป็นกระบวนการเข้ารับฟังข้อกล่าวหาที่ถูกบุคคลหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้ง ทั้งนี้จะต้องมีทนายอยู่ด้วยเสมอ และสิ่งนี้ระบุชัดเจนในประมวลกฎหมาย วิ.อาญา มาตรา 134/4 และมาตรา 135
ขั้นตอนเหล่านี้ มีสิทธิที่จะ
- ในการถามคำให้การผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนต้องแจ้งสิทธิต่อผู้หาก่อน และในกรณีที่ไม่แจ้งก่อน คำให้การของผู้ต้องหาจะไม่สามารถนำมาเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ได้ และพนักงานสอบสวนต้องไม่ทำการใดๆ ที่เป็นการให้คำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง ทรมาน ใช้กำลังบังคับ หรือกระทำโดยมิชอบ ประการใดๆ เพื่อจูงใจให้ผู้ต้องหากให้การอย่างใดๆ
- ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตน
ข้อแนะนำ
1.ไม่ควรให้การใดๆ กับพนักงานสอบสวน จนกว่าจะปรึกษาทนายความของตนเองก่อนเท่านั้น
2.หากไม่มีทนายความของตนเอง เราควรให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา หรือยืนยันกับพนักงานสอบว่าจะไม่ให้การใดๆ และจะให้การในชั้นศาลเท่านั้น
ข้อควรระวัง
-เรามีสิทธิตามกฎหมายที่จะให้การหรือไม่ให้การกับพนักงานสอบสวนได้
-มีสิทธิจะให้ทนายความหรือบุคคลที่ไว้วางใจเข้าร่วมการสอบสวนได้
-การให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนจะเป็นผลเสียอย่างมากในการต่อสู่คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของท่านในชั้นศาลต่อไป
ในชั้นอัยการและชั้นศาล
ตำรวจมีความเห็นว่าจะสั่งฟ้อง ชั้นต่อมาที่จะต้องเจอ คือชั้นอัยการ ที่คุณจะต้องรายงานตัว ตำรวจจะนัดผู้ต้องหาไปที่สำนักงานอัยการประจำท้องที่ ทั้งนี้กระบวนการนี้ต้องมีทนายไปด้วยทุกครั้ง
ในขั้นนี้ อัยการอาจสั่งฟ้องคดี หรือไม่ฟ้องคดีก็ได้ แต่ถ้าหากสั่งฟ้อง ขั้นตอนต่อไปที่คุณจะพบเจอ คือขั้นตอนของศาล
ศาลที่พิจารณาคดีอาญานั้นมีศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา แต่รู้หรือไม่ ไม่ใช่ทุกคดีจะสิ้นสุดลงที่ชั้นศาลฎีกา และก่อนจะไปถึงขั้นตอนที่สาม เราข้อแนะนำคำสองคำให้คุณได้เตรียมความพร้อมที่จะรู้จักกันก่อน
โจทก์ คือผู้ที่ยื่นฟ้องคดีต่อศาล หรือผู้กล่าวหา
จำเลย คือผู้ที่ถูกฟ้องต่อศาล หรือผู้ต้องหา
ผู้ต้องหาหรือจำเลย ถือเป็น “ประธานแห่งคดี” ที่ต้องทำหน้าที่พิสูจน์ตัวเองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์กับฝ่ายศาลซึ่งถือเป็นอำนาจรัฐ การที่ให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่ตัวผู้ต้องสงสัยหรือจำเลย นับว่าเป็นการมอบความเท่าเทียมให้ประชาชนมีอำนาจเท่ากับรัฐ เพื่อไม่ให้เกิดการฟังความฝ่ายเดียว ซึ่งไม่เป็นธรรมต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ได้
ขอแนะนำ ผู้ต้องหา/จำเลย มี 11 สิทธิ ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ
- สิทธิในการพิจารณาอย่างเปิดเผย
- สิทธิในการพิจารณาอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม
- สิทธิในการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์
- สิทธิที่จะได้รับแจ้งโดยพลันซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพและเหตุแห่งความผิดที่ถูกกล่าวหา ในภาษาซึ่งบุคคลนั้นเข้าใจได้
- สิทธิที่จะมีเวลา และได้รับความสะดวกเพียงพอแก่การเตรียมการเพื่อต่อสู้คดี และติดต่อกับทนายความที่ตนเลือกได้
- ปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
- สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาโดยไม่ชักช้าเกินความจาเป็น
- สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาต่อหน้าบุคคลนั้น และสิทธิที่จะต่อสู้คดีด้วยตนเอง หรือโดยผ่านผู้ช่วยเหลือทางกฎหมายที่ตนเลือก
- สิทธิที่จะซักถามพยานซึ่งเป็นปรปักษ์ต่อตน และขอให้เรียกพยานฝ่ายตนมาซักถามภายใต้เงื่อนไขเดียวกับพยานซึ่งเป็นปรปักษ์ต่อตน
10.สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากล่ามโดยไม่คิดมูลค่า หากไม่สามารถเข้าใจหรือพูดภาษาที่ใช้ในศาลได้
- สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับให้เบิกความเป็นปรปักษ์ต่อตนเอง หรือให้รับสารภาพผิด
ชั้นศาลชั้นต้น
ขั้นตอนแรก คุณจะต้อง “นัดคุ้มครองสิทธิ” ก่อน เพื่อให้ผู้พิพากษาได้สอบถามข้อเท็จจริง อธิบายข้อกฎหมาย รูปเรื่องความเป็นมาแห่งคดีให้กับจำเลยได้เข้าใจ ก่อนที่จำเลยจะตัดสินใจรับสารภาพหรือประสงค์จะต่อสู้คดี
ขั้นตอนที่สอง นัดพร้อมและสอบคำให้การตรวจพยานหลักฐาน โดยศาลจะนัดให้จำเลยและโจทก์มาพร้อมกันที่ศาลเพื่อแถลงพยานเอกสารและบุคคลเพื่อทำการนัดสืบพยานต่อไป
ขั้นตอนที่สาม สืบพยานโจทก์และจำเลย ขั้นตอนนี้คือการสืบพยานบุคคลของโจทก์และจำเลย โดยที่ทั้งสองฝ่ายสามารถถามค้านได้
อาจมีนัดไต่สวน ในกรณีที่มีการไต่สวนเรื่องอื่นๆ เช่น ไต่สวนขอปล่อยตัวชั่วคราว ไต่สวนขอถอนประกัน เป็นต้น
ขั้นตอนสุดท้ายของศาลชั้นนี้ คือการมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ค่าจ้างทนายราคาเท่าไหร่
เนื่องจากทนายความไม่สามารถประกาศหรือโฆษณาค่าจ้างทนายในเว็บไซต์ได้ เนื่องด้วยข้อบังคับของสภาทนายความ ห้ามมิให้ทนายความโฆษณา หรือประกาศอัตราค่าจ้างว่าความ หรือโฆษณาว่าจะไม่เรียกร้องค่าทนาย ตามข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วย มารยาททนายความ พ.ศ. 2529 ข้อ 17
สอบถามค่าจ้างทนายความ ในการฟ้องลูกหนี้ ผ่านช่องทางไหนได้บ้าง
ทางโทรศัพท์ 02-1252511
ทางไลน์ @tiwanonlaw
Facebook : สำนักงานทนายความติวานนท์
E-mail : info@tiwanonlaw.com
ขอแนะนำให้ท่าน มาพบทนายด้วยตนเองดีที่สุด เพราะการสอบข้อเท็จจริงที่ดีที่สุดระหว่างทนายความกับลูกความ คือการมานั่งคุยกันต่อหน้า
การคุยกันทางโทรศัพท์ ทางไลน์ ทางอีเมล์ อย่างไรเสียก็สู้มานั่งคุยกันต่อหน้าไม่ได้ เพราะทำให้เข้าใจข้อเท็จจริงต่างๆได้ละเอียดกว่า และสามารถซักถาม ทำความเข้าใจและจับกิริยาอาการต่างๆได้ดีที่สุด