ผู้จัดการมรดก

มรดก คืออะไร

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 วางหลักไว้ว่า กองมรดกของผู้ตาย ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

ทรัพย์สินทุกอย่างที่เป็นของผู้ตาย และมรดกรวมถึงสิทธิและหน้าที่ ความรับผิดต่างๆ ของผู้ตายที่มีอยู่ในขณะที่ตายด้วย มรดกที่เป็นทรัพย์สิน คือ สิ่งที่มีค่า มีราคา เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ เป็นต้น มรดกที่เป็นสิทธิ คือ เป็นสิ่งที่จะได้มาหรือที่มีอยู่ เช่น สิทธิตามสัญญาเช่า สิทธิตามสัญญากู้ยืมเงิน สิทธิในฐานะที่เป็น เจ้าหนี้ในการได้รับเงินคืน เป็นต้น ในส่วนของ มรดกที่เป็นความรับผิด คือ เป็นเรื่องที่จะต้องชดใช้ เช่น ความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีที่มีการก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่ผู้อื่นหรือความรับผิดที่เกิดจากการผิดข้อสัญญาต่างๆ

สรุปมรดก คือ ทรัพย์สินของผู้ตาย หากใครยังไม่ตายทรัพย์สิบนั้นก็ไม่ใช่มรดก โดยตามปกติ ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินสามารถที่จะจัดการทรัพย์สินของตัวเองอย่างไรก็ได้ ด้วยการทำพินัยกรรม

มรดกตกทอดแก่ใค

 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 เมื่อบุลคลใดตาย มรดกของบุคลนั้นตกทอดแก่ทายาท 

เมื่อมีคนตายและผู้ตายมีทรัพย์สิน ซึ่งทรัพย์สินนี้ก็จะกลายเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทของผู้ตายโดยทันที ซึ่งมรดกของผู้ตายจะตกทอดไปยังทายาทตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก 2 ประเภท ได้แก่

  1. ทายาท โดยธรรมของผู้ตาย

ทายาทโดยธรรม คือ ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายที่มีความสัมพันธ์เป็นญาติของผู้ตายโดยตรง ซึ่งก็คือ พ่อแม่ของผู้ตาย ลูกของผู้ตาย สามีหรือภิริยาของผู้ตาย พี่น้องร่วมพ่อแม่เดียวกัน เป็นต้นซึ่งสิทธิในการได้รับมรดกนั้น กฎหมายได้กำหนดไว้ให้เป็นไป ตามลำดับชั้น ดังนี้

  • ผู้สืบสันดาน
  • บิดา มารดา
  • พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
  • พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน
  • ปู่ ย่า ตา ยาย
  • ลุง ป้า น้า อา

คู่สมรสตามกฎหมายย่อมมีสิทธิได้รับมรดกก่อนทายาทโดยธรรมเสมอ

ทายาทโดยธรรมที่เป็นคู่สมรส คือ คู่สมรสที่ชอบตัวยกฎหมายของผู้ตาย ที่ได้จดทะเบียนสมรสกับเจ้ามรดก ไม่ว่าผู้ตายจะมีทายาทโดยธรรมที่เป็นญาติตามลำดับ 1-6 ดังที่กล่าว

ลำดับชั้นที่ใกล้ชิดกับผู้ตายที่สุดเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อน และในกรณีที่ทายาทโดยธรรมจะมีสิทธิรับมรดกได้ ต้องเป็นกรณีที่ผู้ตายไม่มีการทำพินัยกรรมเอาไว้ หรือทำไว้บางส่วน หรือทำพินัยกรรมไว้แล้วไม่มีผล

  1. ผู้รับพินัยกรรม

ผู้ที่มีสิทธิรับทรัพย์สินของผู้ตายเป็นการเฉพาะเจาะจง เพราะผู้ตายได้ทำหนังสือกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์สินของผู้ตายเอาไว้โดยตรงก่อนตาย ผู้รับพินัยกรรมจะเป็นใครก็ได้ ไม่ต้องมีความเกี่ยวดองเป็นญาติกันก็ได้ หากผู้ตายได้ทำหนังสือไว้ว่าจะยกทรัพย์สินมรดกให้ใคร ก็มีผลให้ทรัพย์สินนั้นตกแก่ผู้ที่มีชื่ออยู่ในพินัยกรรมคนนั้น

 

พินัยกรรม คือ อะไร

 

การแสดงเจตนาของผู้ตายในเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการ ของตนก่อนตายเพื่อให้การแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายไว้ถ่วงหน้านั้นมีผลต่อเมื่อตนถึงแก่ความตายแล้ว ซึ่งการแสดงเจตนาดังกล่าวต้องได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้

คุณสมบัติของผู้ทำพินัยกรรมมีอยู่ 2 ข้อ คือ

  1. มีอายุครบ 15 ปีขึ้นไป
  2. ศาลไม่ใด้มีคำสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ

แบบของพินัยกรรม

การทำพินัยกรรม กฎหมายกำหนดว่าจะทำ ได้ก็แต่ตามแบบใดแบบหนึ่ง และผู้ทำพินัยกรรมจะเลือกทำพินัยกรรมแบบใดก็ได้ เช่น

  • พินัยกรรมแบบธรรมดา
  • พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
  • พินัยกรรมแบบเอกสารฝ้ายเมือง
  • พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
  • พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา

 

การตั้งผู้จัดการมรดก

 

ขั้นตอนการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก

ในการแต่งตัวผู้จัดการมรดกด้วยตัวเอง สามารถดำเนินการได้ ดังนี้

  1. รวบรวมทรัพย์มรดก

ต้องดูว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอะไรบ้าง โดยทรัพย์มรดก หมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดจนสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆ ที่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ เช่น กรรมสิทธิ์ในที่ดิน บ้าน คอนโด รถยนต์ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ เป็นต้น และทำการรวบรวมทรัพย์มรดกทั้งหมดเพื่อเตรียมจัดการมรดก 

 

  1. หารือผู้จัดการมรดก

ขั้นตอนต่อไป หารือในครอบครัวว่าทายาทเจ้ามรดก หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกองมรดกคนไหนจะเป็นผู้จัดการมรดก โดยผู้จัดการมรดกต้องมีคุณสมบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ดังนี้

  • ต้องบรรลุนิติภาวะ หรือมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์
  • ต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็น คนเสมือนไร้ความสามารถ
  • ต้องไม่เป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย
  1. ยื่นคำร้องแต่งตั้งผู้จัดการมรดก

นำเอกสารที่ใช้ยื่นประกอบคำร้อง ไปยื่นที่ศูนย์จัดการมรดก หรือสำนักอัยการจังหวัด ตามภูมิลำเนาของเจ้ามรดกหรือที่ทรัพย์ตั้งอยู่

  1. ศาลไต่สวนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก

ศาลจะกำหนดวันไต่สวนคำร้อง เพื่อที่จะได้ทราบว่าท่านสมควรจะเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ โดยจะใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 40 – 60 วัน 

  1. แต่งตั้งผู้จัดการมรดก

เมื่อไต่สวนคำร้องเสร็จแล้ว หากไม่มีผู้ใดคัดค้าน ศาลจะประกาศแต่งตั้งผู้จัดการมรดก แต่ถ้ามีผู้คัดค้านในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก จะต้องไต่สวนต่อไปจนกว่าจะเสร็จสิ้นเพื่อสู้กันว่าบุคคลใดเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดก หรือศาลสามารถตัดสินให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้ ซึ่งกรณีที่มีการคัดค้าน การมีทนายถือเป็นข้อได้เปรียบ เพราะทนายจะช่วยแก้ต่างในคดีให้กับคุณได้

 

ค่าจ้างทนายราคาเท่าไหร่

เนื่องจากทนายความไม่สามารถประกาศหรือโฆษณาค่าจ้างทนายในเว็บไซต์ได้ เนื่องด้วยข้อบังคับของสภาทนายความ ห้ามมิให้ทนายความโฆษณา หรือประกาศอัตราค่าจ้างว่าความ หรือโฆษณาว่าจะไม่เรียกร้องค่าทนาย ตามข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วย มารยาททนายความ พ.ศ. 2529 ข้อ 17

สอบถามค่าจ้างทนายความ ในการฟ้องลูกหนี้ ผ่านช่องทางไหนได้บ้าง

ทางโทรศัพท์ 02-1252511

ทางไลน์ @tiwanonlaw

Facebook : สำนักงานทนายความติวานนท์

E-mail : info@tiwanonlaw.com

ขอแนะนำให้ท่าน มาพบทนายด้วยตนเองดีที่สุด เพราะการสอบข้อเท็จจริงที่ดีที่สุดระหว่างทนายความกับลูกความ คือการมานั่งคุยกันต่อหน้า

การคุยกันทางโทรศัพท์ ทางไลน์ ทางอีเมล์ อย่างไรเสียก็สู้มานั่งคุยกันต่อหน้าไม่ได้ เพราะทำให้เข้าใจข้อเท็จจริงต่างๆได้ละเอียดกว่า และสามารถซักถาม ทำความเข้าใจและจับกิริยาอาการต่างๆได้ดีที่สุด

Scroll to Top