การให้โดยเสน่หา คืออะไร
การให้โดยเสน่หา เป็นการให้โดยไม่มีค่าตอบแทน เป็นการให้ที่ผู้ให้ไม่ได้ต้องการอะไรตอบแทนกลับคืนมา แต่ว่าถ้าให้ไปแล้ว ตามกฎหมายจะมีการบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 521 ที่วางหลักว่า สัญญาให้ คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับและผู้รับยอมรับทรัพย์สินนั้นไว้
การให้จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อส่งมอบการครอบครองให้แก่ผู้รับแล้ว จะส่งมอบด้วยวิธีไหนก็ได้ขอแค่ให้ผู้รับสามารถมีอำนาจจัดการทรัพย์สินนั้นได้ก็พอครับ ถ้าเป็นบ้าน ที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ต้องมีการจดทะเบียน ก็ต้องทำตามขั้นตอนของการจดทะเบียนให้เรียบร้อยแบบนี้ถึงจะเป็นการให้ที่สมบูรณ์
Note : หากท่านต้องการสอบถามค่าจ้างทนายความในการฟ้องคดีฉ้อโกง อ่านเพิ่มที่ ค่าจ้างทนาย
ผู้ให้สามารถเรียกของที่ให้คืนจากผู้ที่รับทรัพย์ที่ให้ได้หรือไม่
ถ้าได้ให้ทรัพย์ใครไปโดยเสน่หา คนที่รับไปก็จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ แต่ถ้าผู้รับประพฤติไม่ดีต่อผู้ให้ ผู้ให้ก็ยังสามารถเรียกคืนได้อยู่ แต่ก็ไม่ใช่จะเรียกคืนได้ทุกกรณี เพราะมีกฎหมายกำหนดเรื่องนี้เอาไว้ โดยตรงในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 ผู้ให้จะถอนคืนการให้เพราะผู้รับประพฤติเนรคุณได้ในกรณีดังต่อไปนี้
1.ผู้รับประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดอาญาร้ายแรง เช่น กรณีที่ผู้รับทำร้ายร่างกายผู้ให้อย่างรุนแรง ทำให้ผู้รับได้รับบาดเจ้บต่อกายหรือจิตใจหรือถึงขั้นได้รับอันตรายสาหัส ซึ่งเราอาจเทียบได้กับประมวลกฎหมายอาญา
2.ผู้รับทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง เช่น กรณีนี้อาจจะไม่ต้องถึงขนาดเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา แค่ผู้ให้ใส่ความผู้รับกับคนอื่นจนทำให้ผู้รับเสียหายหรือเสียชื่อเสียงอย่างร้ายแรงซึ่งอาจไม่ถึงขั้นเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท แต่ทำให้ผู้รับเสียชื่อเสียงอย่างร้ายแรงก็พอแล้ว
3.ผู้รับไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นในการเลี้ยงชีพแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับสามารถให้ได้ เช่น กรณีนี้ตัวผู้ให้จะต้องขาดแคลนปัจจัยในการดำรงชีวิตและได้ไปขอความช่วยเหลือจากผู้รับ ซึ่งตัวผู้รับสามารถให้ปัจจัยในการดำรงชีวิตแก่ผู้รับได้โดยที่ผู้รับไม่ได้เดือดร้อน แต่ผู้รับปฏิเสธที่จะให้ ถ้าข้อเท็จจริงแบบนี้ก็ฟ้องขอถอนคืนการให้ได้เลยครับ แต่ถ้าไม่ครบ เช่น ผู้ให้ไม่ได้ขอความช่วยเหลือหรือผู้รับให้ได้ แต่ถ้าให้ไปตัวผู้รับก็จะเดือดร้อนเช่นกัน แบบนี้ก็ไม่เข้าเหตุที่จะขอถอนคืนการให้ได้
ข้อยกเว้นการให้ที่ผู้ให้ไม่สามารถถอนคืนการให้ได้
การถอนคืนการให้นี้ก็มีข้อยกเว้นอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535 คือการให้ตามที่ผมจะกล่าวนี้จะถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณไม่ได้นั่นเอง
1.ให้เป็นบำเหน็จสินจ้างโดยเเท้ เป็นการให้ในเชิงตอบแทนหรือเป็นรางวัล โดยที่ไม่ได้ตกลงกันมาก่อนว่าจะให้
2.ให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน คือผู้รับทรัพย์นั้นมาจะต้องปฏิบัติตามภาระตอบแทนการให้ด้วย เช่น รับที่ดินที่ติดจำนองมาโดยผู้รับจะต้องไปไถ่จำนองออกมา
3.ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา คือการให้ที่ผู้ให้มีหน้าที่ทางศีลธรรมที่จะต้องให้ แม้ไม่ให้ก็ไม่ผิดกฎหมาย เช่น พ่อแม่ยกทรัพย์สินให้ลูกคนหนึ่งแล้วให้ลูกคนที่เป้นผู้รับเอาไปแบ่งกับพี่น้องคนอื่นๆ แบบนี้ลูกคนที่เป็นผู้รับมีหน้าที่ธรรมจรรยาที่จะต้องแบ่งให้พี่น้องคนอื่นๆ
4.ให้ในการสมรส คือการที่เหล่าพ่อแม่ ญาติ พี่น้อง หรือคนรู้จักให้ทรัพย์สินแก่คู่สมรสในการสมรสนั่นเอง ซึ่งจะต้องมีการจดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายด้วยครับ
อายุความในการเพิกถอนการให้โดยเสน่หา
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 533 กำหนดไว้ว่า เมื่อผู้ให้ได้ให้อภัยแก่ผู้รับในเหตุประพฤติเนรคุณนั้นแล้วก็ดีหรือเวลาได้ล่วงเลยไปแล้วหกเดือนนับแต่เหตุเช่นนั้นได้ทราบถึงบุคคลผู้ชอบที่จะเรียกถอนคืนการให้ได้นั้น หาอาจถอนคืนการให้ได้ไม่
อนึ่ง ไม่ให้ฟ้องเมื่อพ้น 10 ปี ภายหลังจากเหตุการณ์เช่นว่านั้น
การฉ้อโกง คือ
การฉ้อโกง หมายถึง การหลอกคนอื่นโดยแสดงข้อความเท็จหรือปกปิดความจริงที่ควรบอกเพื่อเอาทรัพย์สินคนอื่นหรือทำให้คนอื่นทำ ถอน ทำลาย เอกสารสิทธิ
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
องค์ประกอบการฉ้อโกง
หลอกลวง หมายความถึง ใช้เล่ห์อุบายลวงให้เข้าใจผิด, ต้มตุ๋น
แสดงข้อความอันเป็นเท็จ หมายความถึง มีข้อเท็จจริงอยู่แล้ว นำมาเปรียบเทียบกับข้อเท็จจริงนั้นแต่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่มีอยู่ นั้นถือว่าเป็นข้อความเท็จ
ทรัพย์สิน หมายความถึง วัตถุทั้งที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นวัตถุมีรูปร่าง ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เป็นวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งแบ่งประเภทเป็น
การกระทำที่เป็นความผิดที่เป็นการหลอกลวง คือ การกระทำให้เข้าใจผิดหรือหลงผิด สำคัญผิด ซึ่งอาจจะกระทำโดย การแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือ ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2283/2565
โจทก์ทั้งสิบสองซื้อบ้านและที่ดิน โครงการหมู่บ้าน ศ. 1 โดยจำเลยทั้งสองและ จ. ปกปิดข้อความจริงว่า โครงการหมู่บ้าน ศ. 1 ไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรตามกฎหมายและ จ. แจ้งว่าโครงการจัดให้มีลานจอดรถอันเป็นสาธารณูปโภค โจทก์ทั้งสิบสองชำระเงินครบถ้วนและรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านแล้ว ดังนั้น เงินค่าซื้อที่ดินและบ้านที่จำเลยทั้งสองได้รับจากโจทก์ทั้งสิบสอง จึงเกิดจากการซื้อขายที่ดินและบ้าน มิใช่เกิดจากการปกปิดข้อความจริงว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดิน ทั้งการที่จำเลยทั้งสองไม่ได้ขออนุญาตจากทางราชการให้ดำเนินการจัดสรรที่ดิน ก็ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะบ่งชี้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่จะฉ้อโกงโจทก์ทั้งสิบสอง และที่จำเลยทั้งสองไปขออนุญาตก่อสร้างอาคารบนที่ดินที่ จ. จัดให้เป็นลานจอดรถโดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทั้งสิบสองทราบนั้น มิใช่การปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งเพราะจำเลยทั้งสองไม่จำเป็นต้องแจ้งให้โจทก์ทั้งสิบสองทราบ ทั้งจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้ทรัพย์สินไปจากโจทก์ทั้งสิบสองเพราะที่ดินเป็นลานจอดรถยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ. ส่วนการที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารเจ็ดชั้นบนที่ดินสาธารณูปโภคที่เป็นลานจอดรถ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 มิได้ปฏิบัติตามคำมั่นของ จ. ที่ให้ไว้กับโจทก์ทั้งสิบสองเท่านั้น กรณีเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ประมวลกฎหมายอาญา. มาตรา 341 เป็นต้น
ค่าจ้างทนายราคาเท่าไหร่
เนื่องจากทนายความไม่สามารถประกาศหรือโฆษณาค่าจ้างทนายในเว็บไซต์ได้ เนื่องด้วยข้อบังคับของสภาทนายความ ห้ามมิให้ทนายความโฆษณา หรือประกาศอัตราค่าจ้างว่าความ หรือโฆษณาว่าจะไม่เรียกร้องค่าทนาย ตามข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วย มารยาททนายความ พ.ศ. 2529 ข้อ 17
สอบถามค่าจ้างทนายความ ในการฟ้องลูกหนี้ ผ่านช่องทางไหนได้บ้าง
ทางโทรศัพท์ 02-1252511
ทางไลน์ @tiwanonlaw
Facebook : สำนักงานทนายความติวานนท์
E-mail : info@tiwanonlaw.com
ขอแนะนำให้ท่าน มาพบทนายด้วยตนเองดีที่สุด เพราะการสอบข้อเท็จจริงที่ดีที่สุดระหว่างทนายความกับลูกความ คือการมานั่งคุยกันต่อหน้า
การคุยกันทางโทรศัพท์ ทางไลน์ ทางอีเมล์ อย่างไรเสียก็สู้มานั่งคุยกันต่อหน้าไม่ได้ เพราะทำให้เข้าใจข้อเท็จจริงต่างๆได้ละเอียดกว่า และสามารถซักถาม ทำความเข้าใจและจับกิริยาอาการต่างๆได้ดีที่สุด