ฟ้องคดีแพ่ง

คดีแพ่ง คืออะไร

 

เมื่อเราถูกโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิ์ ถูกละเมิด จากบุคลคลอื่นทำให้เราได้รับความเสียหาย แต่เมื่อเราต้องการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมายก็ไม่รู้วิธีและขั้นตอนในการดำเนินการว่าต้องเริ่มทำอะไรก่อน พอไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ถ้าเป็นคดีแพ่งเราจะได้รับคำตอบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเลยว่าไม่สามารถดำเนินคดีให้ได้ เพราะเป็นคดีแพ่งให้เราไปดำเนินคดีเอง ซึ่งคดีแพ่งมีความหมายดังนี้  

 ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55  เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ ตาบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้

คดีแพ่ง เป็นคดีที่เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของคน 2 ฝ่าย ที่ผิดสัญญากันหรือต้องการโต้แย้งสิทธิ หน้าที่กัน หรือเป็นคดีที่มีการร้องขอต่อศาลให้ศาลรับรองสิทธิบางอย่างให้ (เอกชนกับเอกชน)

 

ความแตกต่างระหว่างคดีแพ่งและคดีอาญา

 

คดีแพ่ง คือ  กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น เรื่องสภาพบุคคล ทรัพย์ หนี้ นิติกรรม ครอบครัว และมรดก เป็นต้น การกระทำผิดทางแพ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดต่อบุคคลที่เสียหายโดยเฉพาะไม่ทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนอย่างการกระทำผิดอาญา 

คดีอาญา คือ กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่รัฐบัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับความผิดนั้น เป็นกฎหมายที่บัญญัติว่า การกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดเป็นความผิด โดยพนักงานสอบสวนมีอำนาจทำการรับแจ้งความร้องทุกข์

-โดยแยกข้อแตกต่างดั้งนี้

1.คดีแพ่ง ต้องให้ทนายฟ้อง คดีอาญา ฟ้องเอง หรือ ให้ตำรวจฟ้อง

2.ค่าธรรมเนียมศาล คดีแพ่ง เป็นการฟ้องรียกเอาเงินหรือเอาทรัพย์สิน ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามที่กฎหมายกำหนด ถ้าทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 แสนบาท เสียค่าธรรมเนียม 1 พันบาท ถ้าเกิน 3 แสน เสียค่าธรรมเนียมศาล 2% แต่ไม่เกิน 2 แสนบาท

คดีอาญาคือการฟ้องขอให้ผู้กระทำความผิด/จำเลย ได้รับโทษทางอาญา ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล

 

ประเภทของคดีแพ่ง มี 2 ประเภท

 

คดีแพ่งมีทั้งคดีที่ขอให้อีกฝ่ายชดใช้เงิน คืนของ จ่ายค่าเสียหายต่าง ๆ หรือต้องการให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราจะเรียกคดีแบบนี้ว่า คดีมีข้อพิพาท และสำหรับคดีที่ไม่มีคู่ความเราจะเรียกว่า คดีไม่มีข้อพิพาท

  1. คดีมีข้อพิพาท จะมีคู่ความฝ่ายหนึ่งคือ “โจทก์” เป็นฝ่ายที่ยื่นคำฟ้อง อีกฝ่ายคือ “จำเลย” เป็นฝ่ายที่ถูกฟ้อง คดีมีข้อพิพาทจะฟ้องได้ต่อเมื่อมีการทำให้เกิดความเสียหาย หรือกระทบกับสิทธิที่เราจะต้องได้รับตามกฎหมาย หรือเรียกง่าย ๆ ว่าฟ้องเพื่อเรียกร้องสิทธิที่มีตามกฎหมายของตัวเอง ฟ้องเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งทำตามหน้าที่ตัวเอง ต่างฝ่ายต่างมีสิทธิ์ในการโต้แย้ง สืบหาความจริง เพื่อให้ศาลตัดสินว่าต้องชดใช้ให้กันมากน้อยแค่ไหน ต้องชดใช้ยังไงบ้างตามกฎหมายแพ่ง เช่นฟ้องให้จ่ายหนี้ ฟ้องผิดสัญญาซื้อขาย ฟ้องเรียกค่าเสียหายลิกจ้างไม่เป็นธรรม ฟ้องเรียกค่าปรับคืน

ฟ้องเรียกค่านายหน้า

  1. คดีไม่มีข้อพิพาทเป็นคดีที่จะต้องร้องขอให้ตัวเองมีสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งจากศาล เพื่อให้มีการรับรองสิทธิที่ว่าตามกฎหมาย จะได้มีอำนาจในการทำสิ่งต่าง ๆ ได้ คดีแบบนี้ไม่มีคู่ความ แต่ถ้ามีคนยื่นขอคัดค้านภายในวันนัดใต่สวน ก็จะกลายเป็นคดีมีข้อพิพาทได้เหมือนกัน เช่นขอเป็นผู้จัดการมรดก ขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ ขอทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ หรือสาบสูญ ขอแสดงสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ขอสิทธิการเลี้ยงดูบุตร

 

คดีแพ่ง ฟ้องยังไง และฟ้องที่ไหน

 

ถ้าต้องการเรียกร้องสิทธิของตัวเอง เราต้องเสนอคดีไปที่ศาลในพื้นที่ที่เกิดเรื่องนั้น ๆ หรือตามที่อยู่ของฝ่ายที่ละเมิดเราแล้วแต่กรณี ถ้าเราไปฟ้องหรือร้องขอต่อศาลที่ไม่มีอำนาจพิจารณาคดีที่เราฟ้องไป ศาลก็จะรับฟ้องไว้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ทำให้ต้องเสียเวลาไปมาหลายรอบและเสียเงินมากกว่าเดิม โดยคนที่เราจะฟ้องให้เป็นจำเลยได้ต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล 

-คดีเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ป.วิ.พ. มาตรา 4 ทวิ คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิหรือ ประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ให้เสนอต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์ นั้นตั้งอยู่ในเขตศาล ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรหรือไม่ หรือต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่เขตศาล สรุป ยื่นฟ้องต่อศาลที่อสังหา ฯ นั้นตั้งอยู่ หรือตามที่อยู่ของจำเลย

คดีเกี่ยวกับหนี้เหนือบุคคล เช่น หนี้เงินกู้ หนี้ค่าจ้าง หนี้บัตรเครดิต คำฟ้อง ป.วิ.พ. มาตรา 4 ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ สรุป ต้องยื่นฟ้องต่อศาลในพื้นที่ที่เกิดเรื่องขึ้น หรือตามที่อยู่ของจำเลย

-คำขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ป.วิ.พ มาตรา 4 จัตวา คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ให้เสนอต่อศาลที่ เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อ ศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาลยื่นคำร้องขอต่อศาลในพื้นที่ตามที่อยู่ของเจ้ามรดกก่อนตาย

การฟ้องคดีแพ่ง ทุกคนสามารถฟ้องได้ด้วยตัวเองเนื่องจากไม่มีการกำหนดเอาไว้ว่าต้องมีทนายความถึงจะฟ้องและดำเนินคดีได้ ถ้าสามารถดำเนินคดีเองได้ก็ต่อสู้คดีโดยไม่จำเป็นต้องมีทนายความ  แต่ถ้าเราไม่รู้วิธีดำเนินคดีหรือไม่มั่นใจเรื่องข้อกฎหมายก็อาจตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบได้ การขอคำปรึกษา เตรียมพยานหลักฐานให้พร้อมก่อนฟ้องจึงเป็นเรื่องที่ควรทำ เพราะคดีแพ่งเป็นคดีที่ตัดสินแพ้ชนะตามพยานเอกสารและพยานวัตถุเป็นหลัก ส่วนพยานบุคคลจะเป็นพยานที่มีความสำคัญรองลงมา

 

ขั้นตอนการว่าจ้างทนายฟ้องคดีแพ่ง โดยมีขั้นตอนการว่าจ้าง ขั้นตอนการชำระเงิน การขึ้นศาลอย่างไง

 

1.ก่อนที่จะมาปรึกษาทนายความ เนื่องจากคดีแพ่งศาลจะตัดสินจากพยานเอกสารเป้นหลัก ดังนั้นจึงต้องต้องรวบรวมเอกสารทั้งหมดที่หาได้ เช่น สัญญากู้ โฉนดที่ดิน  หลักฐานการโอนเงิน

2.เรียบเรียงเรื่องราว ไม่ว่าจะพิมพ์มาเป้นบทความหรือส่งอีเมลหรือจะเขียนใส่กระดาษ เนื่องจากจะทำให้ทนายความเข้าใจเรื่องราวและจับประเด็นได้ ทั้งช่วยทบทวนความจำและจะได้ไม่ลืม

3.มาพบและปรึกษาทนายความ เวลาก่อนจะยืนฟ้องคดีแพ่งถ้าเป็นคดีที่มีเอกสารเป้นจำนวนมาก มีความสลับสับซ่อน ไม่ว่าจะคุยผ่านโทรศัพท์หรือพิมพ์สนทนาคุยกันก็ดี จากประสบการณ์ของทนายความ การพูดคุยที่ดีที่สุด คือการเขามาพบและจับเขาพูดคุย เพราะจะได้สื่อสาร ตอบคำถามเชิงลึกได้ดีกว่า

4.เมื่อประเมินคดีแล้วว่าฟ้องได้ ว่ามีโอกาสชนะคดี ก็เซ็นสัญญาว่าจ้างทนายความ ตกลงค่าใช้จ่ายว่าจะชำระในรูปแบบไหน

5.ร่างและยื่นฟ้องคดีต่อศาล เมื่อยืนฟ้องแล้วกำหนดวันนัด

 

ค่าจ้างทนายในการฟ้องชู้ราคาเท่าไหร่

เนื่องจากทนายความไม่สามารถประกาศหรือโฆษณาค่าจ้างทนายในเว็บไซต์ได้ เนื่องด้วยข้อบังคับของสภาทนายความ ห้ามมิให้ทนายความโฆษณา หรือประกาศอัตราค่าจ้างว่าความ หรือโฆษณาว่าจะไม่เรียกร้องค่าทนาย ตามข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วย มารยาททนายความ พ.ศ. 2529 ข้อ 17

สอบถามค่าจ้างทนายความ ในการฟ้องลูกหนี้ ผ่านช่องทางไหนได้บ้าง

ทางโทรศัพท์ 02-125-2511

ทางไลน์ @tiwanonlaw

Facebook : สำนักงานทนายความติวานนท์

E-mail : info@tiwanonlaw.com

ขอแนะนำให้ท่าน มาพบทนายด้วยตนเองดีที่สุด เพราะการสอบข้อเท็จจริงที่ดีที่สุดระหว่างทนายความกับลูกความ คือการมานั่งคุยกันต่อหน้า

การคุยกันทางโทรศัพท์ ทางไลน์ ทางอีเมล์ อย่างไรเสียก็สู้มานั่งคุยกันต่อหน้าไม่ได้ เพราะทำให้เข้าใจข้อเท็จจริงต่างๆได้ละเอียดกว่า และสามารถซักถาม ทำความเข้าใจและจับกิริยาอาการต่างๆได้ดีที่สุด

Scroll to Top