ฟ้องหมิ่นประมาท คือ อะไร
การฟ้องหมิ่นประมาท คือ การที่ผู้เสียหายได้ถูกใส่ความ ถูกทำให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมื่น ทำการยื่นฟ้องต่อศาล เพื่อให้ศาลลงโทษผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งผู้เสียหายหรือโจทก์จะให้ทนายเขียนคำฟ้อง พร้อมกับรวบรวมพยาน หลักฐานต่างๆ เพื่อนำเสนอต่อศาล ให้ศาลตัดสินลงโทษผู้กระทำความผิดต่อไป
ฟ้องหมิ่นประมาท ผิดกฎหมายมาตราไหนบ้าง
“ความผิดฐานหมิ่นประมาท”
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 กำหนดว่า “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิด ฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
การใส่ความ คือ การทำให้ปรากฏข้อเท็จจริงโดยอาจเป็นความจริงหรือความเท็จก็ได้ถ้าหากพูดแล้วทำให้ผู้อื่นเสียหายก็เป็นความผิด แม้การเล่าเรื่องที่ได้ยินมาให้กับบุคคลอื่นฟังก็อยู่ในความหมายของคำว่าใส่ความด้วยเช่นกัน ดังนั้น การใส่ความจึงไม่จำกัดวิธีอาจใช้วิธีการใด ๆ ก็ได้ เช่น การใช้คำพูด ภาพวาด การแสดงกิริยาอาการอย่างหนึ่งอย่างใด ใช้ภาษาใบ้ หรือใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ รวมถึงการใช้รูปภาพ เช่น การแอบถ่ายภาพคนที่กำลังร่วมประเวณีแล้วนำภาพเหล่านั้นไปให้ผู้อื่นดูถือได้ว่าเป็นการใส่ความและน่าจะทำให้เสียชื่อเสียงซึ่งเป็นการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท
“ความผิดฐานดูหมิ่น”
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 กำหนดว่า “ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณาต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ดูหมิ่น หมายถึง การดูถูก เหยียดหยาม ทำให้อับอาย ทำให้เสียหาย เป็นที่เกลียดชัง สบประมาท หรือด่า ส่วนกรณีคำหยาบคายไม่สุภาพ คำแดกดัน คำสาปแช่ง คำขู่อาฆาต คำปรับทุกข์ คำโต้เถียง คำกล่าวติชม ตามปกติวิสัยไม่เป็นการดูหมิ่น และการดูหมิ่นนั้นอาจเป็นการกระทำด้วยวาจา กริยาท่าทาง หรือโฆษณาก็ได้ โดยการกระทำที่จะเป็นความผิดฐานดูหมิ่นตามมาตรา 393 นั้น ต้องเป็นการดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือดูหมิ่นผู้อื่นด้วยการโฆษณา
ฟ้องหมิ่นประมาท ขั้นตอนการฟ้อง
- มาพบทนายเพื่อเล่าข้อเท็จจริงและทำใบแต่งทนาย
- รวบรวมพยาน หลักฐาน พร้อมทั้งทำบัญชีพยาน
- ทนายเขียนคำฟ้อง
- ศาลรับคำฟ้อง
- นัดไกล่เกี่ย
- นัดสืบพยาน
- ฟังคำพิพากษา
ฟ้องหมิ่นประมาท ค่าจ้างทนายเท่าไหร่
เนื่องจากทนายความไม่สามารถประกาศหรือโฆษณาค่าจ้างทนายในเว็บไซต์ได้ เนื่องด้วยข้อบังคับของสภาทนายความ ห้ามมิให้ทนายความโฆษณา หรือประกาศอัตราค่าจ้างว่าความ หรือโฆษณาว่าจะไม่เรียกร้องค่าทนาย ตามข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วย มารยาททนายความ พ.ศ. 2529 ข้อ 17
ดังนั้น ขอให้สอบถามค่าจ้างทนายความ ผ่านช่องทาง ต่อไปนี้
- ทางโทรศัพท์ 02-125-2511
- ทางไลน์ @tiwanonlaw
- Facebook : สำนักงานทนายความติวานนท์
- E-mail : info@tiwanonlaw.com
- มาพบทนายด้วยตนเองดีที่สุด เพราะการสอบข้อเท็จจริงที่ดีที่สุดระหว่างทนายความกับลูกความ คือการมานั่งคุยกันต่อหน้า
- การคุยกันทางโทรศัพท์ ทางไลน์ ทางอีเมล์ อย่างไรเสียก็สู้มานั่งคุยกันต่อหน้าไม่ได้ เพราะทำให้เข้าใจข้อเท็จจริงต่างๆได้ละเอียดกว่า และสามารถซักถาม ทำความเข้าใจและจับกิริยาอาการต่างๆได้ดีที่สุด
- แผนที่สำนักงานทนายความติวานนท์