ฟ้อง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คืออะไร
หลายคนอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือมีความสงสัยว่าถ้ากระทำในลักษณะไม่ว่าจะเป็นการลงข้อมูลหรือโพสต์ข้อมูลของตนเองหรือจากเว็บไซต์จะเป็นความผิดไหม
ซึ่ง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่ พ.ร.บ.กำหนดไว้ ปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ตโฟนเป็นจำนวนมาก บางคนก็อาจจะใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ แต่บางคนก็อาจใช้สิ่งนี้ทำร้ายคนอื่นในทางอ้อมด้วยก็ได้
เราอาจจะได้ยินข่าวเรื่องการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง ซึ่งบางเหตุการณ์ก็สร้างความเสียหายไม่น้อยเลย เพื่อจัดการกับเรื่องพวกนี้ เลยต้องมีพ.ร.บ.ออกมาควบคุม ในเมื่อการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวเรา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเราเช่นกันค่ะ หากเราไม่รู้เอาไว้ เราอาจจะเผลอไปทำผิด โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจก็ได้
พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มีกี่ฉบับ
ประเทศไทย มีพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาแล้ว 2 ฉบับ คือ ฉบับแรก ปี 2550 และ ฉบับสอง ปี 2560 โดย พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับล่าสุด คือ ฉบับปี 2560
ความแตกต่างสำคัญระหว่างฉบับปี 2560 กับ 2550 คือ แก้ไขมิให้ “ความผิดหมิ่นประมาท” เป็นความผิดตาม พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ อีกต่อไป เพราะในอดีต ความผิดหมิ่นประมาท ถือว่าเข้าข่ายผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ซึ่งกฎหมายระบุว่า ไม่สามารถยอมความได้ ดังนั้นแม้ต่อมา คู่ความจะเจรจายอมความสำเร็จ หรืออยากถอนฟ้อง ศาลก็ไม่สามารถใช้ดุลพินิจที่จะไม่ลงโทษคู่ความได้ ส่งผลให้มีคดีฟ้องร้องขึ้นศาลจำนวนมากและเกิดปัญหาทางปฏิบัติ
เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงมีการนำ “ความผิดหมิ่นประมาท” ออกจาจ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ แต่ไปบังคับใช้ด้วยประมวลกฎหมายอาญาแทน ทำให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ความเสี่ยงที่อาจจะทำให้มีความผิด
การกดไลค์ (Like)
หลายคนอาจสงสัยว่า กด Like ก็ผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ด้วยเหรอ ความจริงแล้วการกด Like ไม่ถือเป็นความผิด นอกเสียจากว่า ไปกด Like ข้อมูลปลอม ข้อมูลอันเป็นเท็จ ไม่เป็นความจริง หลอกลวง ที่มีผลทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ประชาชน ความมั่นคงของประเทศได้ เช่น ข้อมูลที่ผลกระทบต่อสังคม ความมั่นคงของชาติ
การกดแชร์ (Share)
การกด Share ข้อมูลปลอม ข้อมูลอันเป็นเท็จ ไม่เป็นความจริง หลอกลวง ที่มีผลทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ประชาชน ความมั่นคงของประเทศได้ เช่น ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อสังคม ความมั่นคงของชาติ และหากเกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ อาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี
การเป็นแอดมินเพจ
หน้าที่ของแอดมินเพจต่าง ๆ คือต้องสอดส่องดูแลความเรียบร้อย ตลอดจนความคิดเห็นของลูกเพจ ไม่ให้ไปในเชิงลบ และขัดต่อกฎหมาย หากลูกเพจแสดงความคิดเห็นที่ผิดต่อกฎหมาย แอดมินมีหน้าที่ลบจากพื้นที่ หากไม่ลบหรือซ่อนข้อความนั้นจะถือว่ามีความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เช่นกัน ทั้งนี้ หากเข้าลักษณะเป็นความผิดมาตรา 14 โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
การโพสต์สิ่งลามกอนาจาร
เป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่า สิ่งลามกอนาจารไม่ควรโพสต์ หรือเผยแพร่ด้วยประการทั้งปวง ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายและไม่ควรกระทำ และเป็นความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ หากเข้าลักษณะเป็นความผิดมาตรา 14 โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
การโพสต์รูปเกี่ยวกับเด็ก
การโพสต์รูปเด็กหรือเยาวชน โดยไม่ได้รับความยิมยอมหรือไม่ได้ขออนุญาต ต้องมีการปิดบังหน้า นอกจากจะเป็นการยกย่อง เชิดชู ความดีงาม ถึงจะสามารถกระทำการโพสต์ได้ ทั้งนี้ หากเข้าลักษณะเป็นความผิด มาตรา 14 (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ ซึ่งมีโทษจำคุกสูงถึง 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
ข้อมูลผู้เสียชีวิต
ห้ามโพสต์ภาพผู้ที่เสียชีวิต รวมไปถึงให้ข้อมูลเรื่องการเสียชีวิต ยิ่งเป็นโพสต์ดูหมิ่น หรือแสดงความเกลียดชัง ไม่ว่าจะเป็นญาติ คนสนิท หรือแม้แต่บุคคลที่มีชื่อเสียง หากเข้าลักษณะเป็นความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น
การด่าทอผู้อื่นซึ่งหน้าก็ถือว่าเป็นความผิดแล้ว แต่หากโพสต์ด่าว่าผู้อื่นโดยข้อมูลนั้นเป็นเท็จ ก็มีโทษ หากเข้าลักษณะเป็นความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท ฉะนั้นควรสะกดกลั้นอารมณ์แล้วอย่าไปลงกับสื่อ มิเช่นนั้นอาจตกเป็นผู้กระทำความผิดได้
การละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น
การจะเอาอะไรของใครไปใช้ ต้องมีการขออนุญาตและให้เครดิตก่อนทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น เช่นเดียวกับโลกออนไลน์ การจะโพสต์ Quote ข้อความ เพลง รูปภาพ วิดีโอใด ๆ ต้องบอกแหล่งที่มา ให้เครดิต หรือขออนุญาติเจ้าของก่อน มิฉะนั้นหากเข้าลักษณะเป็นความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีความผิด มีโทษจำคุกสูงถึง 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
การส่งรูปภาพ
หากเป็นการส่งให้เพื่อน หรือญาติสนิทมิตรสหายดู อาจเพื่อความบันเทิง หรือเพื่อเป็นความรู้สามารถส่งรูปภาพได้ แต่หากเป็นการแชร์ภาพ หรือนำรูปภาพไปใช้เพื่อการพาณิชย์ หรือสร้างรายได้ ต้องขออนุญาตและทำให้ถูกต้องก่อน มิฉะนั้นอาจมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ หากเข้าลักษณะเป็นความผิด มาตรา 14 (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ ซึ่งมีโทษจำคุกสูงถึง 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
การฝากร้าน
ก่อนจะมีบทลงโทษที่ชัดเจนออกมา เราได้เห็นการฝากร้านใต้โพสต์ของผู้มีชื่อเสียง และดารามากมาย แต่ตอนนี้ไม่สามารถทำได้แล้ว หากไม่ได้รับอนุญาต เพราะการฝากร้านในโซเชียลมีเดีย ถือเป็นสแปมและรบกวนผู้อื่น มีโทษปรับสูงสุด 200,000 บาท ฉะนั้นต้องตรวจสอบให้ดีก่อนค่อยฝากร้านนะครับ
การส่งอีเมล (Email) ขายของ
การส่ง Email เพื่อขายของโดยที่เจ้าของ Email ไม่ได้ให้ความยินยอม ถือเป็นความผิดนะครับ นอกจากจะมีการลงทะเบียน Subscribe อย่างถูกต้องแล้ว ส่งเป็นจดหมายข่าว หรือโปรโมชันให้ แบบนี้สามารถทำได้ หากพบว่าเข้าลักษณะเป็นความผิด มีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท จำคุกไม่เกิน 2 ปี
การส่งข้อความ (SMS) โฆษณา
หลายคนน่าจะเคยได้รับข้อความ SMS โฆษณาจากแบรนด์ต่าง ๆ ซึ่งต้องได้รับความยินยอมให้รับข่าวสาร โฆษณาจากเจ้าของหมายเลขโทรศัพท์ ก่อนถึงจะกระทำได้ มิฉะนั้นอาจถือว่ามีความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และอาจถือว่าเป็นสแปม ปรับสูงสุด 200,000 บาท
พบข้อมูลผิดกฎหมาย
กรณีพบว่ามีการแสดงความคิดเห็นที่ผิดกฎหมาย เช่น แสดงความคิดเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึง facebook ในระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา จากบุคคลอื่นทำไว้ ที่ไม่ใช่เจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ เราสามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ เมื่อแจ้งแล้ว ลบข้อมูลดังกล่าวออก เจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่มีความผิด
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีวัตถุประสงค์หลัก ๆ เพื่อควบคุม ผู้ที่ชอบก่อกวนหรือเหล่านักเลงคีย์บอร์ดทั้งหลาย ฉะนั้นไม่จำเป็นต้องหวาดระแวงหรือหวาดกลัว จนไม่กล้าโพสต์ภาพหรือข้อความปกตินะครับ ยังสามารถทำได้ เพียงแต่ต้องใช้วิจารณญาณเพิ่มขึ้นเท่านั้นเอง
ข้อกฎหมายและบทลงโทษของผู้กระทำผิด
ในความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พุทธศักราช 2550 มาตรา 14 (1) การพิมพ์หรือทำให้ปรากฏตามสำเนาข้อความแสดงความคิดเห็นบนเว็บไซต์ facebook ในระยะเวลาคาบเกี่ยวต่อเนื่องกันบนเว็บไซต์ facebook ในหัวข้อเรื่องทำนองเดียวกันและข้อความทั้งหมดต่างกล่าวถึงผู้เสียหายในเรื่องเดียวกันเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน คำพิพากษาฎีกา 2148/2562
การคัดลอกข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น จากเว็บไซต์ของผู้อื่นไปในเว็บไซต์ของตนเองโดยไม่ปรากฏว่าการกระทำดังกล่าวเป็น การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นอย่างไรไม่เป็นความผิดตามพรบว่าด้วยการทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ 2550 มาตรา 9 ที่ต้องเป็นการทำให้เสียหายทำลายแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ คำพิพากษาฎีกา 3616/2560
สรุป แม้จะคัดลอกข้อมูลจากเว็บไซต์ของบุคลคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ถ้าไม่ทำให้เกิดการทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นก็ไม่เป็นความผิด
ค่าจ้างทนาย ฟ้อง พรบ คอมพิวเตอร์ ราคาเท่าไหร่
เนื่องจากทนายความไม่สามารถประกาศหรือโฆษณาค่าจ้างทนายในเว็บไซต์ได้ เนื่องด้วยข้อบังคับของสภาทนายความ ห้ามมิให้ทนายความโฆษณา หรือประกาศอัตราค่าจ้างว่าความ หรือโฆษณาว่าจะไม่เรียกร้องค่าทนาย ตามข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วย มารยาททนายความ พ.ศ. 2529 ข้อ 17
สอบถามค่าจ้างทนายความ ในการฟ้องลูกหนี้ ผ่านช่องทางไหนได้บ้าง
ทางโทรศัพท์ 02-1252511
ทางไลน์ @tiwanonlaw
Facebook : สำนักงานทนายความติวานนท์
E-mail : info@tiwanonlaw.com
ขอแนะนำให้ท่าน มาพบทนายด้วยตนเองดีที่สุด เพราะการสอบข้อเท็จจริงที่ดีที่สุดระหว่างทนายความกับลูกความ คือการมานั่งคุยกันต่อหน้า
การคุยกันทางโทรศัพท์ ทางไลน์ ทางอีเมล์ อย่างไรเสียก็สู้มานั่งคุยกันต่อหน้าไม่ได้ เพราะทำให้เข้าใจข้อเท็จจริงต่างๆได้ละเอียดกว่า และสามารถซักถาม ทำความเข้าใจและจับกิริยาอาการต่างๆได้ดีที่สุด