ฟ้องขับไล่ คือ อะไร
- ฟ้องขับไล่ คือ การที่จำเลย แต่งทนายให้ทำการฟ้องจำเลยและบริวาร ให้ออกจากอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน อาคารพาณิชย์ คอนโด โกดัง ที่ดินเปล่า เป็นต้น โดยเฉพาะหากเป็นการซื้อบ้านจากกรมบังคับคดี ที่มีเจ้าของเดิมอาศัยอยู่ หลังจากไปเจรจาแล้ว จำเลยก็ไม่ยอมย้ายออก แบบนี้จำเป็นต้องให้ ทนายความ ยื่นฟ้องขับไล่ให้จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ โดยเร็วที่สุด เพื่อให้ผู้ที่ประมูลบ้านได้ เข้าไปครอบครองทรัพย์ตามปรกติต่อไป
- รวมทั้งการฟ้องขับไล่ที่มีมูลเหตุเกิดจากการละเมิด เช่น มีเพื่อนบ้านสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของเรา หรือที่มีบุคคลแอบเข้ามาอาศัยในบ้านและที่ดินของเรา โจทก์สามารถฟ้องขับไล่จำเลยและยังสามารถขอให้ศาลบังคับให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายให้แจ่โจทก์จนกว่าจะออกจากอสังหาริมทรัพย์
- การที่บุคคลซึ่งเป็นเจ้าของ อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครอง เช่น ที่ดิน บ้าน อาคารหรือตึกแถว ห้องชุด(คอนโดมิเนียม) ได้ยื่นฟ้องต่อศาล กับบุคลคลที่ไม่มีสิทธิอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ต่อศาล เพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้บุคคลที่ไม่มีสิทธิพร้อมทั้งบริวารให้ออกไปจากอสังหาริมทรัพย์และห้ามเข้าไปในบริเวณอสังหาริมทรัพย์อีกต่อไป
- บริวารของบุคลที่ไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ คำว่า “บริวาร” ในทางกฎหมายนั้น ไม่ได้รวมเฉพาะคนในครอบครัวของบุคคลที่ไม่มีสิทธิ์เท่านั้น ดังนั้น คำว่า”บริวาร” ตรงกับคำว่า”DEPANDANT””หมายถึงผู้ที่อาศัยสิทธิของผู้อื่น อาจจะเป็นบุคคลในหรือนอกครอบครัวของผู้นั้นก็ได้
การฟ้องขับไล่ มาตรากฎหมายและฎีกา ที่เกี่ยวกับการฟ้องขับไล่
- มาตรา 1336 เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
- คดีฟ้องขับไล่ ถือเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์ แม้จะมีเรียกให้ชำระค่าเสียหายมาด้วย ก็เป็นเพียงสิทธิขอพิจารณาที่นำไปสู่ขอจำกัดสิทธิ์ในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง เท่านั้น คำพิพากษาฎีกาที่ 7207/2560 บทบรรณาธิการ 2/71 เล่ม 4
- คำพิพากษาฎีกาที่ 6962/2551 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยอยู่ในที่ดินของโจทก์ภายหลังจากที่สัญญาเช่าครบกำหนด โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไปและบอกกล่าวให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินของโจทก์แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินของโจทก์ ให้จำเลยชำระค่าเสียหาย 1,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินออกไป เป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยในมูลละเมิด มิใช่เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าทรัพย์ โจทก์ในฐานะที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องขับไล่ได้โดยไม่จำต้องใช้หนังสือสัญญาเช่าที่ดินเป็นพยานหลักฐานในคดี แม้สัญญาเช่ามิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ สรุปจากฎีกา ฟ้องขับไล่หลังสิ้นสุดระยะเวลาเช่าตามสัญญาถือเป็นมูลละเมิด มิใช่ให้บังคับตามสัญญา ดังนี้สัญญาเช่าไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
เมื่อประมูลซื้อทรัพย์จากกรมบังคับคดี ฟ้องขับไล่ ใช้เวลานานไหม
หากท่านจะเข้าร่วมการประมูลซื้อทรัพย์จากกรมบังคับคดี เช่น บ้าน คอนโด อาคารพานิชย์ ที่ดิน ท่านจะควรที่จะไปสำรวจทรัพย์ที่จะซื้อเสียก่อน ว่ามีคนอาศัยอยู่ในทรัพย์นั้นๆหรือไม่ หากมีคนอาศัยอยู่ท่านต้องทำใจว่า อาจจะได้ทำการฟ้องขับไล่ ถ้าหากเจรจารอบแรกไม่สำเร็จ โดยทั่วไปจะใช้เวลาในการฟ้องขับไล่ประมาณ 3-4 เดือน
ขั้นตอนการฟ้องขับไล่ เมื่อประมูลซื้อบ้านจากกรมบังคับคดี แล้วพบว่าเจ้าของบ้านและบริวารยังอาศัยอยู่
การประมูลบ้านจากกรมบังคับคดีเป็นกระบวนการที่มักเกิดขึ้นเมื่อเจ้าของบ้านไม่สามารถชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล ทำให้บ้านนั้นต้องถูกนำมาประมูลเพื่อชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ แต่บางครั้งผู้ที่ซื้อบ้านผ่านการประมูลอาจพบปัญหาหลังจากได้บ้านมาแล้วคือ เจ้าของบ้านเดิม หรือผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านนั้นยังคงไม่ยอมย้ายออก ซึ่งอาจทำให้ผู้ซื้อบ้านต้องดำเนินการฟ้องขับไล่ตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้เจ้าของบ้านและบริวารย้ายออกจากบ้านที่ได้มานั้น
1. ตรวจสอบสิทธิการเป็นเจ้าของบ้าน
ก่อนที่ผู้ซื้อบ้านจากการประมูลจะฟ้องขับไล่ได้ ต้องแน่ใจว่าตนเองเป็นเจ้าของบ้านตามกฎหมาย การประมูลจากกรมบังคับคดีมีผลทางกฎหมายในการโอนกรรมสิทธิ์แก่ผู้ประมูลที่ชนะ ดังนั้น หลังจากการประมูลและการชำระเงินครบถ้วน ผู้ซื้อบ้านจะได้รับหนังสือรับรองการโอนกรรมสิทธิ์และสามารถยืนยันได้ว่าเป็นเจ้าของบ้านโดยชอบธรรม
2. เจรจาขอให้เจ้าของบ้านและบริวารย้ายออก
หลังจากที่ได้รับกรรมสิทธิ์ในบ้านแล้ว ขั้นตอนแรกที่ควรทำคือ การเจรจาเพื่อขอให้เจ้าของบ้านเดิมและบริวารย้ายออกอย่างสมัครใจ การเจรจานี้สามารถทำได้ด้วยความสุภาพและเป็นมิตร เพื่อให้เจ้าของบ้านรู้สึกว่ามีความเข้าใจและยินยอมในการย้ายออก โดยอาจเสนอระยะเวลาให้เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาหรือข้อขัดแย้งในภายหลัง
3. ฟ้องขับไล่ที่ศาล
หากการเจรจาล้มเหลว และเจ้าของบ้านหรือผู้ที่อาศัยอยู่ไม่ยอมย้ายออกจากบ้าน ผู้ซื้อบ้านสามารถยื่นฟ้องขับไล่ที่ศาลได้ การฟ้องขับไล่เป็นการเรียกร้องให้ศาลสั่งให้บุคคลที่อาศัยอยู่ในบ้านย้ายออก โดยการฟ้องนี้ต้องมีการยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาว่าเจ้าของบ้านเดิมหรือบริวารไม่ได้มีสิทธิในการอยู่อาศัยในบ้านหลังดังกล่าว
ในการฟ้องขับไล่ ผู้ฟ้องจะต้องแสดงหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเป็นเจ้าของบ้านถูกต้องตามกฎหมาย เช่น หนังสือรับรองการโอนกรรมสิทธิ์ และหลักฐานการประมูลบ้านจากกรมบังคับคดี นอกจากนี้ยังต้องแสดงให้ศาลเห็นว่าบุคคลที่อาศัยอยู่ในบ้านไม่ได้มีสิทธิที่จะอยู่ในบ้านอีกต่อไป
4. การพิจารณาคดีของศาล
เมื่อศาลได้รับคำร้องฟ้องขับไล่แล้ว ศาลจะมีการนัดพิจารณาคดี ซึ่งในขั้นตอนนี้ทั้งสองฝ่ายจะได้มีโอกาสนำเสนอหลักฐานและเหตุผลในการยืนยันสิทธิ์ของตน หากศาลพิจารณาว่าผู้ฟ้องมีสิทธิ์ในการครอบครองบ้านตามกฎหมาย และเจ้าของบ้านเดิมหรือผู้ที่อาศัยอยู่ไม่ได้มีสิทธิ์ต่อบ้านหลังนี้ ศาลจะออกคำพิพากษาสั่งให้บุคคลที่อาศัยอยู่ย้ายออกจากบ้าน
5. การบังคับคดี
หากศาลมีคำพิพากษาสั่งให้เจ้าของบ้านเดิมและบริวารย้ายออกแล้ว แต่บุคคลเหล่านั้นยังไม่ยอมย้ายออกตามคำพิพากษา ผู้ซื้อบ้านสามารถขอให้เจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีดำเนินการบังคับคดี โดยการส่งเจ้าหน้าที่ไปดำเนินการขับไล่บุคคลที่ยังอาศัยอยู่ภายในบ้านออกมา
6. การรักษาสิทธิในการครอบครองบ้าน
หลังจากที่บุคคลที่อาศัยอยู่ย้ายออกจากบ้านแล้ว ผู้ซื้อบ้านควรรักษาสิทธิในการครอบครองบ้านให้มั่นคง โดยตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีการเข้ามาของบุคคลอื่นที่ไม่มีสิทธิ์ในบ้าน และควรดำเนินการบันทึกข้อมูลการย้ายออกอย่างชัดเจนเพื่อเป็นหลักฐานในการป้องกันปัญหาในอนาคต
สรุป
การฟ้องขับไล่เมื่อประมูลซื้อบ้านจากกรมบังคับคดีและพบว่าเจ้าของบ้านและบริวารยังอาศัยอยู่ เป็นกระบวนการที่ผู้ซื้อบ้านต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่ถูกต้อง เพื่อให้สามารถเข้าไปครอบครองบ้านได้ตามสิทธิที่ได้รับจากการประมูล โดยเริ่มจากการเจรจา การฟ้องศาล และในกรณีที่จำเป็น การขอให้กรมบังคับคดีดำเนินการบังคับคดี เพื่อให้การครอบครองบ้านเป็นไปตามสิทธิที่ได้รับอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ฟ้องขับไล่ มีขั้นตอนอย่างไร
- รวบรวมเอกสาร ซึ่งจะกล่าวในหัวข้อถัดไป
- คัดแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร (ทร.14-1) ของจำเลย
- เขียนคำร้องขออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี
- จากนั้นศาลจะออกหมายบังคับคดี แต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี
- เจ้าพนักงานบังคับคดีขอศาลออกหมายจับจำเลย
- ศาลออกหมายจับจำเลย (หมายจับระหว่างพิจารณา)
- ตำรวจจับจำเลยมาส่งศาล
- ศาลคุยกับจำเลยและกำหนดวันที่จะย้ายออก
- เขียนคำร้อง ขอนำเจ้าพนักงงานบังคับคดี ไปส่งมอบการครอบครอง
ฟ้องขับไล่ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
1) หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ที่พิพาท เช่น โฉนดที่ดิน
2) สำเนา หรือสัญญาการทำนิติกรรมระหว่างกัน หรือสัญญาเช่า (หากมี)
3) สำเนาภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว หรือหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำ ละเมิดของจำเลยรวมถึงบริวาร
4) กรณีต้องการเรียกค่าเสรียหาย ค่าขาดประโยชน์ ต้องมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า อสังหาฯ พิพาทนั้นมีราคาให้เช่าหรืออาจมีราคาให้เช่าต่อพื้นที่ หรืออาจใช้หลักฐานในการปล่อยให้บุคคลอื่นเช่าหรือหลักฐานการเช่าของอสังหาริมทรัพย์ข้างเคียง หรือเล่มประเมิน เพื่อประกอบการพิจารณาการกำหนดจำนวนเงิน ในการสั่งค่าเสียหายของศาล
เอกสารหลักฐานที่ต้องเตรียม กรณีขับไล่ ออกจากทรัพย์บังคับคดี
1. สำเนาเอกสารกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ หรือโฉนดที่ดิน
2.สำเนาสัญญาซื้อขายที่กรมที่ดิน
3. สำเนาประกาศขายทอดตลาดของสำนักงานบังคับคดี
4.สำเนาหลักฐานสัญญาที่จะซื้อจะขายและวางมัดจำที่กรมบังคับคดี
5.สำเนาหลักฐานการชำระเงิน
6.รูปถ่ายหรือหลักฐาน การอยู่อาศัยในทรัพย์สินของจำเลยหรือบริวาร ไม่มีก็ได้
การฟ้องขับไล่ฟ้องที่ศาลไหน
คดีฟ้องขับไล่ต้องฟ้องต่อศาลจังหวัด ซึ่งคดีฟ้องขับไล่ถือเป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจาราณาความแพ่ง มาตรา 4 ทวิ ให้เสนอต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล
สรุปการฟ้องขับไล่รื้อถอนสามารถที่จะฟ้องต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ใยเขตศาลหรือที่อยู่ตามจำเลยมีภูมิลำเนาของจำเลย อย่างใดอย่างหนึ่ง
ข้อแนะนำให้ยื่นฟ้องที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาล เพราะสะดวกในการเดินทางไปศาลและง่ายต่อการบังคับคดี
ฟ้องขับไล่ ค่าจ้างทนายเท่าไหร่
เนื่องจากทนายความไม่สามารถประกาศหรือโฆษณาค่าจ้างทนายในเว็บไซต์ได้ เนื่องด้วยข้อบังคับของสภาทนายความ ห้ามมิให้ทนายความโฆษณา หรือประกาศอัตราค่าจ้างว่าความ หรือโฆษณาว่าจะไม่เรียกร้องค่าทนาย ตามข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วย มารยาททนายความ พ.ศ. 2529 ข้อ 17
ดังนั้น ขอให้สอบถามค่าจ้างทนายความ ผ่านช่องทาง ต่อไปนี้
- ทางโทรศัพท์ 02-125-2511
- ทางไลน์ @tiwanonlaw
- Facebook : สำนักงานทนายความติวานนท์
- E-mail : info@tiwanonlaw.com
- มาพบทนายด้วยตนเองดีที่สุด เพราะการสอบข้อเท็จจริงที่ดีที่สุดระหว่างทนายความกับลูกความ คือการมานั่งคุยกันต่อหน้า
- การคุยกันทางโทรศัพท์ ทางไลน์ ทางอีเมล์ อย่างไรเสียก็สู้มานั่งคุยกันต่อหน้าไม่ได้ เพราะทำให้เข้าใจข้อเท็จจริงต่างๆได้ละเอียดกว่า และสามารถซักถาม ทำความเข้าใจและจับกิริยาอาการต่างๆได้ดีที่สุด
- แผนที่ สำนักงานทนายความติวานนท์